Page 276 - kpi12821
P. 276

ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมายในการจัดทำงบประมาณของ อบต.?















                                   ว่าที่ผ่านมามีพรรคการเมืองเพียง 3 พรรค อันได้แก่ พรรคมัชฌิมา-
                                   ธิปไตย พรรคชาติไทย และพรรคพลังประชาชน  เท่านั้น ที่ถูกยุบไป
                                                                           1
                   แม้เพราะเหตุที่ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประกอบ

                   รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. หรือ “กฎ” เกี่ยวกับการ
                   เลือกตั้งที่ออกโดย กกต. ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                   และรัฐธรรมนูญ “ให้ถือว่า” พรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ

                   ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้
                   ตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 วรรคสองของกฎหมายเลือกตั้ง
                                                             2
                   และมาตรา 94 (2) ของกฎหมายพรรคการเมือง  แต่เหตุยุบพรรคข้อนี้ก็นำมาซึ่งข้อ
                   ถกเถียง ทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติ และทั้งทางนิติศาสตร์และทางรัฐศาสตร์ในสังคม
                   วงกว้างอย่างมาก  จึงนำมาศึกษาและวิเคราะห์แยกไว้เป็นการเฉพาะในบทนี้
                                 3


                      1      คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย – ศร. ที่ 18/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล. 126 ต.16ก (19 มีนาคม
                   2552) น. 1 – 78]; คดีพรรคชาติไทย – ศร. ที่ 19/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล. 126 ต.16ก (19
                   มีนาคม 2552) น. 79 – 155]; คดีพรรคพลังประชาชน -  ศร. ที่ 20/2551 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2551 [รจ. ล.
                   126 ต.20ก (31 มีนาคม 2552) น. 1 – 82]; อันที่จริง ยังมีคดียุบพรรคไทยรักไทยที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำ
                   หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคเพราะกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และศาลถือว่าเป็นการกระทำการเพื่อให้
                   ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่มิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่คดีดังกล่าวมีประเด็นทาง
                   กฎหมายสลับซับซ้อนมาก และเกิดขึ้นก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 จึงเห็นควรไม่นำมารวมวิเคราะห์ไว้
                   ณ ที่นี้.

                      2   แต่ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 237 วรรคสอง ประกอบมาตรา 68
                   วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ เป็นคนละกรณีกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 98 ของกฎหมายพรรคการเมือง;
                   โปรดดู คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 19; คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 100; คดีพรรคพลังประชาชน,
                   เรื่องเดิม, น. 26.

                      3   คณะกรรมการในภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ชุด อันได้แก่
                   คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งรัฐสภาที่ 17/2552
                   ที่มี ส.ว.  ดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน และคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของ
                   คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
                   ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2553 นั้น ต่างก็เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นมาตรา 237 นี้ โปรดดู
                   ข้อมูลเกี่ยวกับ (1) คณะกรรมการชุดสมบัติ ที่ <http://www.dloc.opm.go.th/> (2) คณะกรรมการชุดดิเรก
                   ที่ <http://www.parliament.go.th/parcy/adhoc.php?adhoc_id=42>
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281