Page 265 - kpi12821
P. 265
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
กับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข หากศาลเห็นจริงเช่นนั้น ก็มีผลเพียงแค่ให้ข้อบังคับดังกล่าวเป็นอัน
162
ยกเลิกไปเท่านั้น ขนาดข้อบังคับที่ลงมติโดยชอบแต่มีเนื้อหาขัดต่อหลักการพื้นฐานฯ
รัฐธรรมนูญยังกำหนดสภาพบังคับเพียงแค่ข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป ส่วนกรณีพรรค
แรงงานไทยเป็นการประชุมที่ไม่ชอบเพื่อแก้ไขข้อบังคับ แต่ผลลัพธ์กลับรุนแรงถึงขั้น
ยุบพรรคเลยทีเดียว กรณีเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่า เป็นการใช้อำนาจรัฐยุบเลิก
พรรคการเมืองที่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนอย่างชัดแจ้ง และเห็นได้ว่า เป็นการตีความ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เข้มงวดเคร่งครัดจนเกินไป และยังขัดกับหลักการใช้เหตุผล
หรือตรรกะของวิญญูชนทั่วไปอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองตามมาตรา 91 (4)
ไม่ชอบรัฐธรรมนูญ เพราะขัดต่อหลักความได้สัดส่วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
5. ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการวินิจฉัยการสิ้นสภาพ
พรรคการเมือง
ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการวินิจฉัยให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไปนั้น มีประเด็น
ที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
5.1 องค์กรผู้มีอำนาจวินิจฉัยการสิ้นสภาพพรรคการเมือง
กระบวนการวินิจฉัยการสิ้นสภาพพรรคการเมืองจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อความ
ปรากฏต่อนายทะเบียนหรือมีผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนว่ามีเหตุสิ้นสภาพ
พรรคการเมืองตามกฎหมาย โดยนายทะเบียนต้องดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง
หากเห็นว่า มีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นแก่พรรคการเมืองจริง นายทะเบียนต้องเสนอเรื่อง
เข้าที่ประชุม กกต. เพื่อขอให้เห็นชอบกับการประกาศให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไป
จากนั้น จะออกประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง (ชื่อพรรค)สิ้นสภาพความ
เป็นพรรคการเมือง และนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา อย่างไรก็ดี หากหัวหน้า
162 คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของนายมานิต วิทยาเต็ม ศร. ที่ 61/2547 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2547 [รจ. ล.122
ต.45ก (10 มิถุนายน 2548) น. 92 – 97] น. 97; นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคำวินิจฉัยที่สามารถนำมายกเป็น
ตัวอย่างได้ เช่น ศร. ที่ 25/2546–พรรคพลังมหาชน, ศร. 5/2546–พรรคสังคมประชาธิปไตย, ศร. ที่ 42/2546–
พรรคไท, ศร. 1/2549–พรรคเสรี, ศร. 7/2544–พรรคแนวร่วมเกษตรกร, ศร. 56/2547–พรรคพิทักษ์ไทย,
ศร. 10/2545 –พรรคพลังไทย, และศร. ที่ 18/2550–พรรคธัมมาธิปไตย เป็นต้น