Page 260 - kpi12821
P. 260
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
หากไม่ดำเนินการหรือหยุดดำเนินการติดต่อกันเป็นเวลาสองปีขึ้นไป อันได้แก่ สมาคม
สหกรณ์ สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และหอการค้า 154
ดังนั้น จึงอาจสกัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปของไทยได้ว่า การรวมกลุ่มที่
เป็นนิติบุคคลจะสิ้นสภาพไปหากมิได้ดำเนินกิจกรรมใดๆ ติดต่อกันเป็นเวลาตั้งแต่
สองปีขึ้นไป 155
นอกจากนี้ บทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่รัฐใช้กำกับดูแลการรวมกลุ่มที่
เป็นนิติบุคคลต่างๆ ดังกล่าวยังมีลักษณะร่วมกันอีกประการหนึ่งคือ นิติบุคคลต้อง
ประชุมใหญ่สมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งดังเช่นกรณี
156
สมาคมหรือสหกรณ์ หรือกำหนดไว้โดยปริยายดังเช่นกรณีอื่นๆ ด้วยการกำหนดให้
นิติบุคคลต้องจัดทำงบดุลหรือรายงานการดำเนินกิจการเป็นประจำทุกปี โดยต้องได้รับ
การรับรองจากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลนั้นๆ ก่อน จากนั้น จะต้องรายงาน
พร้อมส่งสำเนาเอกสารต่อนายทะเบียนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในกำหนดเวลาเช่น
ภายในเดือนมีนาคมของทุกปีหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการประชุม 157
อนึ่ง เมื่อพิจารณากรอบระยะเวลาที่นิติบุคคลเหล่านั้นหยุดดำเนินการไป
อันเป็นเหตุทำให้ศาลหรือนายทะเบียนอาจสั่งเลิกนิติบุคคลนั้นๆ ได้ ประกอบกับหน้าที่
ของนิติบุคคลซึ่งอย่างน้อยต้องประชุมใหญ่สมาชิกปีละหนึ่งครั้งแล้ว ทำให้พอที่จะ
อนุมานเหตุผลรองรับกรอบระยะเวลาดังกล่าวได้ว่า สาเหตุที่กฎหมายต่างๆ ล้วนแล้ว
แต่กำหนดระยะเวลาไว้ที่ 2 ปี ก็เพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณะผู้บริหาร
นิติบุคคลมีโอกาสและระยะเวลาเพียงพอที่จะแก้ไขเยียวยาความบกพร่องจากการที่
154 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 131 (3) กรณีมูลนิธิ, ม.102 (3) กรณีสมาคม; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 71 (1);
พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518, ม. 83 (3) และ ม. 111; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 36 (3); พรบ.
หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 43 (3); นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มซึ่งมีการจดทะเบียนเพื่อการ
ตามกฎหมายเฉพาะ มิใช่การจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลเช่น พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพ.ศ. 2548, ม. 8
วรรคสองกำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรถอนชื่อวิสาหกิจชุมชนที่ไม่แจ้งความประสงค์ในการดำเนินกิจการเป็น
เวลาสองปีติดต่อกันออกจากทะเบียน.
155 ผู้สนใจเกี่ยวกับนิติวิธีการสกัดหลักกฎหมายทั่วไป โปรดดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 3:
ที่มาและนิติวิธี, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538) น. 252 – 257.
156 ป.พ.พ., ม. 93; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 54
157 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 136 และกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการ
ทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545, ข้อ 13; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 66 – 67; พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518,
ม. 75 และ ม. 108; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 27 – 28; พรบ. หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 34 – 35.