Page 266 - kpi12821
P. 266

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   พรรคหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับการประกาศของ

                   นายทะเบียนก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดได้

                             ปัญหาน่าคิดก็คือ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้เป็นอำนาจ

                   ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองเพราะเหตุที่พรรคการเมือง
                   กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                   ประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม
                   วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันมีลักษณะเนื้อหาคล้ายคลึงกับความในมาตรา 21
                   (2) ของรัฐธรรมนูญเยอรมัน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันได้วางแนวบรรทัดฐานไว้ว่า การ

                   รวมกลุ่มที่มีลักษณะเป็นพรรคการเมืองตามบทนิยามมาตรา 2 (1) ของกฎหมาย
                   พรรคการเมืองจะถูกประกาศว่าเป็นพรรคที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและถูกยุบไปได้ก็แต่
                   โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์เท่านั้น องค์กรอื่นไม่สามารถวินิจฉัยและ

                                                                                163
                   มีคำสั่งเช่นนั้นได้ ดังที่มีผู้อธิบายไว้ว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของพรรคการเมือง  ด้วยเหตุนี้
                   การที่กฎหมายไทยกำหนดให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ กกต. มีอำนาจประกาศ
                   ให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไป จะถือว่า เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

                             ในประเด็นปัญหานี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็น

                   กระบวนการที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสมแล้ว ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังต่อไปนี้


                             ประการแรก แม้อำนาจในการประกาศให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไปจะ
                   เป็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต. แต่ท้ายที่สุด กรณี
                   ดังกล่าวจะไปจบลงที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากหัวหน้าหรือกรรมการบริหาร
                   พรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นได้ว่า แม้จะเป็นการจำกัด
                   ตัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองโดยองค์กรอื่นที่มิใช่องค์กรตุลาการ แต่ก็มีช่องทางเยียวยา

                   โดยองค์กรตุลาการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่า เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลใน
                   การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา 40 (1) ของรัฐธรรมนูญ 2550 และข้อ 14
                   ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และที่สำคัญ กกต.

                                                                   164
                   เป็นองค์กรกลุ่มที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ  มีอำนาจหน้าที่เฉพาะ
                   เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองโดยตรง ทั้งยังมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
                   ทั้งในแง่ที่มาขององค์กร สำนักงานธุรการ และงบประมาณ จึงมีหลักประกันในทาง

                      163   โปรดดู บทที่ 3 กฎหมายเยอรมันเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง หน้า 74 – 75.

                      164   ร.ธ.น., ม. 229 – 241; อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยเห็นว่า หากให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองแต่
                   โดยลำพัง ดังเช่นหลายๆ กรณีที่เคยกำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมือง 2541 เช่นนี้ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271