Page 268 - kpi12821
P. 268

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   การเลือกตั้ง อันเป็นหน่วยธุรการของนายทะเบียนพรรคการเมืองจะปฏิบัติตามขั้นตอน

                   ที่กำหนดไว้ในระเบียบ กกต. ว่าด้วยการสอบสวน ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็น
                   ธรรมในการดำเนินการที่เหมาะสมตามควรแล้ว  อีกทั้งเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
                                                             170
                   เกี่ยวกับการดำเนินการของนายทะเบียนที่ปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
                   หลายสิบฉบับในช่วงที่อยู่ภายใต้กฎหมายพรรคการเมือง 2541 ก็พบว่า การดำเนินการ
                   เพื่อยุบพรรคเพราะเหตุที่เทียบเคียงได้กับการสิ้นสภาพตามกฎหมายปัจจุบันนั้น ได้ดำเนิน

                   การโดยเคารพสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมของพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง

                             ประการสุดท้าย ในระหว่างที่ใช้บังคับกฎหมายพรรคการเมือง 2541 ซึ่ง

                   เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยสั่งยุบพรรค สถิติคดีความที่ขึ้นสู่ศาล
                   รัฐธรรมนูญในระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง 2550 บ่งชี้ว่า กว่าร้อยละ 40 เป็นคดีเกี่ยวกับ
                   พรรคการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรณีที่เทียบได้กับเหตุสิ้นสภาพตามมาตรา 91 (1) หรือ

                   (4) และศาลรัฐธรรมนูญก็มักจะวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองนั้นๆ ตามที่นายทะเบียน
                   เสนอเรื่องมา ในจำนวนคดีดังกล่าว หลายคดี พรรคการเมืองผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจง
                   หรือชี้แจงว่าเห็นพ้องกับที่นายทะเบียนยื่นคำร้องแล้ว ดังนั้น การให้นายทะเบียนโดย
                   ความเห็นชอบของ กกต. ประกาศให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไป จึงเป็นช่องทางหนึ่งซึ่ง

                   ช่วยลดปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญได้ เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย


                             ดังนั้น จึงเห็นว่า การกำหนดให้เป็นอำนาจของนายทะเบียน
                   พรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต. ประกาศให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไป

                   มิได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

                        5.2 ปัญหาผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ


                             ด้วยความที่กฎหมายจำกัดผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้แต่
                   เฉพาะหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่นายทะเบียนประกาศให้สิ้น
                   สภาพความเป็นพรรคการเมืองไปเท่านั้น มิได้รวมถึงสมาชิกคนอื่นๆ ของพรรคการเมือง

                   ดังกล่าวด้วย การบัญญัติหลักการเช่นนี้จึงเป็นตรรกะที่ค่อนข้างแปลก หากพิจารณาใน
                   แง่ที่ว่า แม้แต่กรณีที่ข้อบังคับหรือมติของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญ สมาชิกทั่วไป
                   จำนวนหนึ่งร้อยคนก็ยังสามารถร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้  แล้วเหตุไฉน
                                                                              171
                   การประกาศให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไปซึ่งกระทบโดยตรงต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพ

                   ในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของสมาชิกเหล่านั้นรุนแรง

                      170   ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2550
                      171   ร.ธ.น., ม. 65 วรรคสาม และ พรป. พรรคการเมือง พ.ศ. 2550, ม. 33.
   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273