Page 236 - kpi12821
P. 236
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ดังนั้น จึงเห็นว่า การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ
5,000 คนกระจายไปในทุกภาคและจัดตั้งสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขาตาม
มาตรา 26 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นไปเพื่อการที่
รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ กระทำเท่าที่จำเป็น และมิได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่ง
เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่ประการใด
2.4.2 การกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการสิ้นสภาพ
พรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญ
อนึ่ง แม้ว่าหลักเกณฑ์จำนวนขั้นต่ำของสมาชิกและสาขาพรรคการเมืองจะ
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่การที่กฎหมายถือเอาหลักเกณฑ์ดังกล่าวมากำหนดเป็น
เหตุให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไป อันได้แก่ (ก) เมื่อครบ
กำหนด 1 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งแล้วยังไม่สามารถหาสมาชิกได้ถึง
5,000 คนและจัดตั้งสาขาพรรคครบทุกภาค 4 ภาค 4 สาขา หรือ (ข) สมาชิก
พรรคการเมืองมีจำนวนลดลงเหลือไม่ถึง 5,000 คน ตลอดระยะเวลา 1 ปีติดต่อกัน
กลับกลายเป็นกรณีที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
0
(1) ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ 2540 และ รัฐธรรมนูญ 2550 ต่างก็มีเจตนารมณ์ให้
67
ประชาชนสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยง่าย โดยบุคคลเพียง 15 คนก็สามารถ
รวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้ ความข้อนี้เป็นผลมาจากการประนีประนอมระหว่าง
68
แนวคิดที่ต้องการกำหนดให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่ง กับแนวคิดที่ว่า
ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเห็นว่า การบังคับให้ ส.ส. ต้อง
69
สังกัดพรรคการเมืองเป็นการปิดกั้นโอกาสของประชาชนที่จะเข้าสู่สนามการเมือง และ
เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลในการลงสมัครรับเลือกตั้ง (Right to Stand for
Election) แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตระหนักถึงความจำเป็นในการป้องกันปัญหาการไร้
67 รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 26 (เป็นกรณีพิเศษ) วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2540
อ้างถึงใน มนตรี รูปสุวรรณ และคณะ, เรื่องเดิม, น. 534; และ คณะกรรมาธิการวิสามัญ บันทึกเจตนารมณ์
จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ, เรื่องเดิม, น. 57 – 58.
68 รัฐธรรมนูญ 2540, มาตรา 328 (1); พรป. พรรคการเมือง 2541, ม. 8; พรป.พรรคการเมือง 2550, ม. 8.
69 คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ, กรอบเบื้องต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน:
เอกสารพื้นฐานประกอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อการมีส่วนร่วมกำหนดรัฐธรรมนูญโดยประชาชน,
(ม.ป.พ., 2540) น. 11 – 12.