Page 232 - kpi12821
P. 232
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
(1) หน้าที่ในการสร้างเจตจำนงทางการเมือง อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ
โรมาเนีย วินิจฉัยว่า การที่พรรคการเมืองจะบรรลุหน้าที่ตาม
รัฐธรรมนูญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนได้จริงนั้น
จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับหนึ่งที่มากพอ
สมควร เช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ที่อธิบายว่า
57
พรรคการเมืองขนาดเล็กที่ไม่อาจหาสมาชิกให้ครบจำนวนขั้นต่ำ
5,000 คน ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่สร้างเจตจำนงทางการเมืองหรือ
สะท้อนประโยชน์ของประชาชนได้อย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น
เจตจำนงทางการเมืองของประชาชนที่พรรคการเมืองมีหน้าที่รวบรวม
สร้าง และแสดงออกนี้ต้องเป็นเจตจำนงของประชาชนระดับชาติ
สะท้อนผลประโยชน์ของชาติ มิใช่เจตจำนงของประชาชนในเขตพื้นที่
ใดพื้นที่หนึ่ง หรือสะท้อนผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า พรรคการเมืองที่มุ่งเน้นเฉพาะภูมิภาคใดภูมิภาค
หนึ่งได้สร้างปัญหาแก่ระบบการเมืองของเกาหลีใต้อยู่ไม่ใช่น้อย ดังนั้น
การบังคับให้พรรคการเมืองต้องจัดตั้งสาขาในเขตจังหวัดหรือมหานคร
00 อย่างน้อย 5 สาขาและต้องมีสมาชิกกระจายไปตามสาขาต่างๆ สาขา
ละไม่น้อยกว่า 1,000 คนจึงเป็นเหตุผลทางนิติบัญญัติที่ชอบธรรม
(Legitimate Legislative Purpose) แล้ว 58
(2) การรักษาความมั่นคงของรัฐและความเป็นชาติ เช่น รัสเซียเพิ่งจะ
ผ่านพ้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ไม่นาน
ยังมีการท้าทายและความพยายามที่จะแบ่งแยกดินแดน การสร้างคติ
ชาติพันธุ์นิยม และการก่อการร้าย กระจายในหลายพื้นที่ของประเทศ
อันกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ จึงมีความจำเป็นต้อง
กำหนดจำนวนขั้นต่ำของสมาชิกและสาขาพรรคการเมืองไว้ค่อนข้าง
สูง และยังต้องบังคับให้ต้องกระจายจำนวนไปมากกว่ากึ่งหนึ่งของ
จำนวนมลรัฐทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้พรรคการเมืองเป็นกลไก
o
57 Romania: Decision N 35 of April 2, 1996 on the Constitutionality of Certain Provisions
of the Law on Political Parties, published in the “Monitorul Official”/”Official Gazette” of
Romania, Part I, no. 75 of April, 11, 1997.
58 South Korea: 18-1(A) KCCR 402, 2004 Hun-Ma 246, March 30, 2006; อนึ่ง ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า
ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้อธิบายตามแนวทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Sovereignty of the Nation) ของ
ซีเอเยส์ (Siéyès) และปฏิเสธทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของปวงชน (แต่ละคน) ของรุสโซ (Rousseau) อย่างชัดแจ้ง