Page 240 - kpi12821
P. 240

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ที่ต้องการบรรลุ และยิ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองในการธำรงไว้

                   ซึ่งความหลากหลายทางการเมือง (Political Pluralism) ในสังคมประชาธิปไตยด้วย
                                                                             80
                   แล้ว  ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า เป็นมาตรการที่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วน  เพราะถือเป็น
                       79
                   มาตรการที่ทำลายความหลากหลายดังกล่าวโดยตรง จึงกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
                   ในอีกแง่มุมหนึ่งด้วย


                        กล่าวโดยสรุป เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองตามมาตรา 91 (1) และ
                   (3) ไม่ชอบรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและขัด
                   ต่อหลักความได้สัดส่วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29



                   3.  การสิ้นสภาพเพราะเหตุไม่ส่งสมาชิกลงสมัคร
                     รับเลือกตั้ง ส.ส.




                        บทนิยามพรรคการเมืองตามมาตรา 4 กำหนดเป้าหมายและหน้าที่สำคัญของ
                   พรรคการเมืองคือ “...มุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
          0        ราษฎร...” นำมาซึ่งเหตุแห่งการสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามมาตรา 91 (2)

                   ของกฎหมายพรรคการเมือง 2550 ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                        3.1  ปัญหาในอดีตเกี่ยวกับการเลิกพรรคการเมืองเพราะ
                           ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง


                               อันที่จริง เหตุสิ้นสภาพข้อนี้มิใช่เรื่องใหม่เพราะเคยบัญญัติไว้เป็นเหตุเลิก
                   พรรคการเมืองในกฎหมายพรรคการเมือง 2524 ให้สอดรับกับหลักการที่กำหนดไว้
                   ในรัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งบังคับให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง


                      79   ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรประบุไว้ในหลายคำวินิจฉัยว่า “ไม่มีประชาธิปไตยใดที่ปราศจากความ
                   หลากหลาย” เช่น Partidul Comunistilor (Nepeceristi) v Romania, Application No.46626/99 dated 3
                   February 2005 (2007) 44 E.H.R.R. 17 น. 341

                      80   คณะกรรมาธิการเวนิสก็มีความเห็นเดียวกับผู้วิจัย สำหรับกรณีประเทศยูเครน โปรดดู Opinion No.
                   183/2002 on the Ukrainian Legislation on Political Parties, adopted by the Venice
                   Commission at its 51st Plenary Session (Venice, 5 – 6 July 2002), CDL-AD (2002) 17, §§ 9 –
                   15; และความเห็นของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติตาม ICCPR ก็เช่นกัน สำหรับกรณี
                   ประเทศมอลโดว่า โปรดดู Concluding Observations of the Human Rights Committee: Republic
                   of Moldova, 26 July 2002, CCPR/CO/75/MDA, § 16.
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245