Page 242 - kpi12821
P. 242

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   เป็นการเปิดช่องให้นายทุนเข้ามาครอบงำพรรคการเมืองเนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมาก

                   ในการส่งสมาชิกลงสมัคร ส.ส.  ให้มีได้ง่ายครบตามเกณฑ์จำนวนขั้นต่ำ
                                                  88
                                                       89
                   จนบางครั้งถึงขนาดต้องจ้างคนลงสมัคร  และส่งผลให้พรรคการเมืองที่มีฐานะ
                   การเงินไม่ดีหรือพรรคการเมืองขนาดเล็กไม่อาจอยู่รอดได้ 90


                             ด้วยความตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ดังกล่าว สภาร่างรัฐธรรมนูญ (2540)
                   จึงบัญญัติไว้ในมาตรา 328 (2) ของรัฐธรรมนูญ 2540  ห้ามมิให้ถือเอาเหตุที่
                                                                     91
                   พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง หรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคการเมือง
                   ได้รับเลือกตั้ง มาเป็นเหตุให้เลิกหรือยุบพรรคการเมืองนั้นๆ 92


                        3.2 หลักเกณฑ์การสิ้นสภาพตามมาตรา 91 (2)


                             กฎหมายพรรคการเมืองกำหนดเป้าหมายของการเป็นพรรคการเมืองไว้ว่า
                   ต้องมุ่งที่จะส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และหากพรรคการเมืองใดไม่ส่ง
                   สมาชิกลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลาแปดปี
                   ติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน พรรคการเมืองนั้นก็ย่อมสิ้นสภาพความ

          10       เป็นพรรคการเมืองไปตามมาตรา 91 (2) นี้ อย่างไรก็ดี หากพรรคการเมืองส่งสมาชิกลง
                   สมัครเลือกตั้ง ส.ส. แล้ว แม้ส่งผู้สมัครเพียงแค่คนเดียวในเขตเลือกตั้งเดียว ก็ถือว่า
                   หลุดพ้นหลักเกณฑ์การสิ้นสภาพข้อนี้ โดยไม่ต้องสนใจว่า ผู้สมัครของพรรคการเมืองนั้น
                   จะชนะการเลือกตั้งหรือไม่  แต่กระนั้นก็ดี อาจมีการลดและเลิกเงินสนับสนุน
                                            93

                      88   วิษณุ วรัญญู และคณะ, แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินและ
                   ประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐและเอกชน แก่พรรคการเมือง และสมาชิกพรรคการเมือง, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม,
                   2540) น. 6–16.
                      89   ณรงค์เดช สรุโฆษิต, “บอยคอตเลือกตั้งผิดหรือไม่,” ใน มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 มีนาคม 2549, น. 6.
                      90   พรรคการเมืองขนาดเล็กถูกบีบบังคับให้ใช้จ่ายในเขตเลือกตั้งที่ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะแข่งขันได้ จึงเป็นการ
                   ใช้จ่ายเงินในการเลือกตั้งอย่างไม่มีประสิทธิภาพ; โปรดดู รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 33.
                      91   แม้มาตรานี้จะอยู่ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2540 แต่มิได้เป็นเพียงบทเฉพาะกาลปกติที่เมื่อได้
                   ปฏิบัติแล้วเสร็จ หรือพ้นระยะเวลาที่กำหนดแล้ว จะสิ้นสภาพบังคับไปโดยปริยาย เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา
                   192  กำหนดให้สาระสำคัญดังกล่าวต้องมีในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเรื่องนั้นๆ ตามรัฐธรรมนูญนี้ตลอดไป
                   รัฐสภาจึงไม่อาจตรากฎหมายพรรคการเมืองฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 มาแก้ไขหรือยกเลิกสาระสำคัญดังกล่าวในภาย
                   หลังได้
                      92   เป็นข้อเสนอของศาสตราจารย์บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ ในงานวิจัยซึ่งเป็นรากฐานที่มาของการบัญญัติรับรอง
                   เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, การ
                   ปรับปรุงระบบพรรคการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538), น. 23 และ 73.
                      93   โปรดเทียบ มาตรา 91 (2) ของพรป. พรรคการเมือง 2550 กับ มาตรา 46 (4) ของฉบับ 2524 แก้ไขเพิ่ม
                   เติมตามมาตรา 7 ของพรบ. พรรคการเมือง ฉบับที่ 2 2535 และเทียบกับมาตรา 29 (4) ของฉบับ 2511
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247