Page 245 - kpi12821
P. 245

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    หัวหน้าหรือแกนนำของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งและไม่มี ส.ส. ในสภา หรือ

                    แม้แต่ไม่ได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งเลยก็ตาม แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง เข้าร่วม
                    อยู่ในคณะรัฐมนตรี และอาจมีส่วนในการผลักดันนโยบายของพรรคการเมืองนั้นให้
                    ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล แต่กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นเรื่องพิเศษเฉพาะตัว
                    บุคคล ไม่อาจถือเป็นเหตุยกเว้นหลักทั่วไปที่พรรคการเมืองต้องมุ่งหมายให้มี ส.ส. ใน
                    สภาได้


                               ดังนั้น เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองเพราะไม่ส่งสมาชิกสมัครเลือกตั้ง
                    ส.ส. ในข้อนี้จึงเป็นไปตามลักษณะธรรมชาติของการรวมกลุ่มในรูปพรรคการเมือง

                    ซึ่งแตกต่างจากการรวมกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ เช่น กลุ่มผลประโยชน์ (Interest
                    Groups) หรือกลุ่มกดดัน (Pressure Groups) ที่ต่างก็มุ่งผลักดันนโยบายหรือแนวคิด
                    ของกลุ่มของตนให้เป็นที่ยอมรับในสังคมหรือให้เป็นนโยบายของรัฐบาล โดยมิได้มุ่งเข้าสู่

                    กระบวนการเลือกตั้งและกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยในรัฐสภาโดยตรงเฉกเช่น
                    พรรคการเมือง 103

                               ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น (Local Level) นั้น ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งผู้บริหาร

                    ท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต่างก็มิใช่กระบวนการที่ทำให้พรรคการเมืองเข้าสู่กลไก   1
                    การใช้อำนาจอธิปไตยได้ เพราะอำนาจที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีและใช้อยู่
                                                  104
                    นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจบริหาร  ซึ่งจะมีมากน้อยเพียงไรเป็นไปตามขอบเขตที่
                    รัฐสภากระจายอำนาจไปให ้โดยอาศัยกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ภายใต้

                    เจตนารมณ์และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มุ่งกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น  นอกจากนี้
                                                                                 105
                    การที่ อปท. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นหาใช่เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติในรูปแบบและ
                    ระดับเดียวกับการที่รัฐสภาออกกฎหมายไม่ เป็นเพียงการใช้อำนาจนิติบัญญัติที่ อปท.
                    ได้รับมอบมาจากรัฐสภา (Delegation of Legislative Powers) เฉกเช่นเดียวกันกับ

                    การออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรี  ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเป็นพรรคการเมือง
                                                 106
                       103    Howard Davis, Political Freedom: Associations, Political Purposes, and the Law,
                    (London: Continuum, 2000), น. 43.
                       104    เรียกในทางกฎหมายปกครองว่า “อำนาจปกครอง” โปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายปกครอง
                    ท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2547), น. 3-22.

                       105   โปรดดู หมวด 14 มาตรา 281-290 ของรัฐธรรมนูญ 2550
                       106   ซึ่งเป็นการกระทำทางปกครองในรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “การออกกฎ” โปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์,
                    เรื่องเดิม, น. 66-69;  อนึ่ง ศาลปกครองจังหวัดนครราชสีมา เคยมีคำพิพากษา ที่ 179/2545 ว่า “สภาองค์การ
                    บริหารส่วนตำบลจึงมิใช่เจ้าหน้าที่ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบอำนาจในทางปกครองของรัฐในการดำเนินการ
                    อย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย แต่มีฐานะเป็นองค์กรนิติบัญญัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น...” ซึ่งเป็นการ
                    วินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง โปรดดูข้อวิจารณ์ ใน สมคิด เลิศไพฑูรย์, เรื่องเดิม, น. 378.
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250