Page 243 - kpi12821
P. 243

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    พรรคการเมือง เพราะไม่มี ส.ส. ในพรรคได้
                                                        94

                          อนึ่ง การสิ้นสภาพตามข้อนี้ยังแบ่งเงื่อนเวลาและเงื่อนไขออกได้เป็นสองกรณี
                    กล่าวคือ

                               กรณีแรก ระยะเวลาแปดปีติดต่อกันคือ นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับ
                    จดแจ้งจัดตั้งพรรค พรรคการเมืองดังกล่าวไม่ได้เข้าร่วมการเลือกตั้ง ส.ส. ตลอดทั้งแปดปี

                    ทั้งนี้ ในช่วงเวลา 8 ปี จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้งหรือ

                               กรณีที่สอง การเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกันซึ่งอาจมีระยะเวลานานกว่า
                    8 ปีก็ได้ เช่น สมมุติว่า หลังจากวันเลือกตั้งทั่วไป 1 เมษายน 2550 เพียงหนึ่งวัน ได้มี
                    การจัดตั้งพรรคการเมืองหนึ่งขึ้น พรรคการเมืองนี้อาจไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง ส.ส.

                    ได้นานกว่า 8 ปีโดยที่ไม่ต้องถูกประกาศให้สิ้นสภาพไป ตัวอย่างเช่น หากสภาอยู่จนครบ
                    วาระ 4 ปีในวันที่ 31 มีนาคม 2554 จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน คือวันที่ 15
                    พฤษภาคม 2554 สภาอยู่ครบวาระอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 จัดการเลือกตั้ง

                    ทั่วไป ณ วันที่ 45 พอดี ซึ่งก็คือ วันที่ 28 มิถุนายน 2558 เท่ากับเป็นระยะเวลาสูงสุด
                    8 ปี 90 วัน (4 ปี + 45 วัน + 4 ปี + 45 วัน) ยิ่งกว่านั้น ระยะเวลาอาจยาวนานกว่า
                    ตัวอย่างข้างต้นก็ได้ หากมีการยุบสภาก่อนวันที่สภาครบวาระเพียงหนึ่งวัน และจัดการ   11
                    เลือกในวันที่ 60 นับแต่วันยุบสภา ซึ่งจะเท่ากับ 8 ปีกับอีก 118 วัน ( 3 ปี 364 วัน + 60
                    วัน) + (3 ปี 364 วัน + 60 วัน ) 95


                               ปัญหาน่าขบคิดก็คือ หากพรรคการเมืองมิได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งทั่วไป
                    2 ครั้งติดต่อกัน และเวลาล่วงไปกว่า 8 ปีติดต่อกันแล้ว แต่ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว
                    พรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกลงสมัครในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ในเขตเลือกตั้งใดเขต
                    เลือกตั้งหนึ่ง ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร เช่นนี้ จะถือว่าพรรคการเมืองนั้นสิ้น

                    สภาพไปหรือไม่

                               ผู้วิจัยเห็นว่า กรณีเช่นนี้ต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายพรรค
                    การเมือง คือ ต้องการให้พรรคการเมืองทำหน้าที่ในการมุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ ด้วยการส่ง

                    สมาชิก ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเมื่อพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง ส.ส. แม้จะ
                    เป็นเพียงการเลือกตั้งซ่อมก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าได้ทำหน้าที่ขั้นต่ำดังกล่าวแล้ว เพราะใน
                    ทางความเป็นจริง การส่งสมาชิกลงเลือกตั้งซ่อมไม่ต่างอะไรไปจากการส่งสมาชิกลง
                    สมัครเลือกตั้งทั่วไปเพียงแค่คนเดียวในเขตเลือกตั้งเดียว อีกทั้งยังต้องตีความบทบัญญัติ

                    กฎหมายไปในทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญให้น้อยที่สุด การตีความ


                       94   พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 78
                       95   โปรดดู ร.ธ.น., ม. 104 ม. 107 และ ม. 108.
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248