Page 27 - kpi10607
P. 27
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
2 สามารถเฉพาะบุคคล ซึ่งการเน้นกลุ่มมีผลต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นชอบทำ
สถาบันพระปกเกล้า กิจกรรมกลุ่มและพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเพื่อให้กลุ่มดำเนินไปด้วยดี ดังนั้น สังคมญี่ปุ่นจึงเป็นสังคม
ที่สามารถสร้างพลังและมีอำนาจควบคุมชะตากรรมของคนในสังคมได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวญี่ปุ่นจึงสามารสร้าง
วัฒนธรรมร่วมที่เป็นวัฒนธรรมที่ทุกคนเข้าใจตรงกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สังคมที่กล่าวถึงนี้ คือ
“ชาติ” ซึ่งเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นสามารถทำสิ่งที่ต้องการให้อนาคตของประเทศเป็นไปตามความต้องการของตนก็คือ
การสร้างความสำเร็จให้แก่ประเทศชาตินั่นเอง
. แนวคิดเรื่องสังคมที่ถูกจัดการ
“สังคมที่ถูกจัดการ” หรือ “สังคมที่ถูกควบคุม” (Managed Society) เป็นแนวคิดที่มาจาก
“การควบคุมทางสังคม” (Social Control) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ให้คำจำกัดความว่า เป็นกระบวนการ
ที่นำมาใช้ควบคุมพฤติกรรมของปัจเจกชนที่ไม่เห็นด้วยกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยและกฎระเบียบของ
สังคม ซึ่งหมายถึงการหล่อหลอมทางสังคมให้กับเด็ก อบรมสั่งสอนให้ประชาชนเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของ
สังคม
ลักษณะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่แตกต่างจากสังคมอื่นที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโลก เนื่องจาก
ลักษณะทางสังคมโดยทั่วไปของประเทศที่มีเศรษฐกิจทุนนิยมจะเป็นสังคมที่เน้นความเป็นปัจเจกนิยมสูง
แต่สังคมญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว สามารถรักษาความ
เป็นสังคม “กลุ่ม” ไว้อย่างมีพลัง ซึ่งความสำคัญของความเป็นกลุ่มไม่ได้มีความหมายเพียงการช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันในการทำงานเท่านั้น หากแต่มีความหมายครอบคลุมถึงการดำรงชีวิตในมิติอื่น ๆ ของคนญี่ปุ่นอย่าง
กว้างขวางด้วย
“สังคม” หรือ Sha Kai เป็นคำที่มีการให้ความหมายใหม่ในช่วงหลังการปฏิรูปเมจิ เดิม “สังคม” มีความ
หมายถึงการสมาคมหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ มาเป็นความหมายหรือจินตนาการถึงหน่วยของสังคมโดยรวม
ปัจจัยสำคัญที่เน้นการรวมกลุ่มความเป็นสังคมของชาวบ้านญี่ปุ่นในอดีตเกิดขึ้นจากลักษณะสังคมของชาวบ้าน
ที่สมัยก่อนเป็นสังคมเกษตร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างความร่วมมือร่วมใจการจัดการกับการดำเนิน
ชีวิตในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยว การล่าสัตว์ การทำมาหากิน การทดน้ำ เพาะปลูก หรือในการประกอบ
พิธีกรรมที่ทำให้ความขัดแย้งตึงเครียดสลายไปเป็นระยะ ๆ แต่อย่างไรก็ตามระบบการผลิตแบบการเกษตร
เพียงอย่างเดียวไม่น่าทำให้ความสำนึกถึงความเป็นกลุ่มดำรงอยู่ได้อย่างแนบแน่นในยามที่ระบบการผลิตได้
เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
นอกจากนี้ สังคมชาวบ้านยังมีฐานความเชื่อที่แสดงให้เห็นสำนึกถึงความสำคัญของกลุ่ม ได้แก่
ความเชื่อทางศาสนาที่เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่นที่มี
ลักษณะเป็นเกาะมีการติดต่อกับอาณาจักรรอบข้างไม่มากนัก ทำให้สังคมญี่ปุ่นโบราณมีเวลาสั่งสมความเชื่อทาง
ศาสนาจากหลายแหล่งมารวมกันเพื่อทำให้การดำรงชีวิตนั้นเป็นไปได้อย่างมีความหมายตามเงื่อนไขใน
การขัดเกลาทางสังคม แต่ขณะเดียวกันศาสนาก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมชาวบ้านอีกด้วย
รัฐมีความสำคัญที่ทำให้สำนึกในความเป็น “กลุ่ม” ของคนญี่ปุ่นมั่นคงแน่นแฟ้นมากขึ้น โดยเฉพาะความ
สัมพันธ์ระหว่างรัฐและหมู่บ้าน แม้ว่าด้านหนึ่งหมู่บ้านจะถูกดึงเอาผลประโยชน์ไปแต่ก็มีความอิสระจากรัฐบาล
ท้องถิ่นอยู่มากทีเดียว ความเป็นอิสระระหว่างรัฐท้องถิ่นกับหมู่บ้านนั้นเกิดจากการที่รัฐท้องถิ่นดึงเอา