Page 25 - kpi10607
P. 25

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




           2       อิสระในการพูดและการวิจารณ์ แต่ต้องอยู่บนฐานของการเคารพนับถืออย่างแท้จริงต่อองค์จักรพรรดิในฐานะ

              สถาบันพระปกเกล้า   เป็นสัญลักษณ์และเป็นผู้ที่ทำให้ประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้




                         การวางพื้นฐานในสังคมญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์สมัยเจ้าชายโฌโตกุ (Shotoku ค.ศ. 574-622)

                   ซึ่งมีการตรารัฐธรรมนูญ 17 ข้อ หนึ่งใน 17 ข้อเป็นเรื่องเกี่ยวกับความกลมเกลียว แนวคิดเรื่องความกลม
                   เกลียวจึงเป็นกลไกทางสังคมของญี่ปุ่นที่ใช้ในการรวมคนให้เป็นหน่วยเดียวกันโดยอาศัยการประนีประนอม
                   และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ความกลมเกลียวกันนี้มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งภายในกลุ่มและเสริมสร้างความ

                   สัมพันธ์ภายในกลุ่มให้ดีขึ้น คนญี่ปุ่นจึงพยายามปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้เห็นความสำคัญของความกลมเกลียว ซึ่ง
                   ดูได้จากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่และครู เด็ก ๆ ถูกสอนตั้งแต่เล็กว่าเด็กที่โตกว่าต้องยอมเด็กที่อายุไม่โต
                   พอที่จะเข้าใจได้ ผู้ใหญ่สอนให้เด็กทำถูกต้องตามมารยาท เพื่อให้เด็กประพฤติถูกต้องมากกว่าประพฤติเพื่อได้

                   รับการสรรเสริญเยินยอหรือเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ

                         แนวคิดเรื่องความกลมเกลียวภายในกลุ่ม คนญี่ปุ่นถือเป็นแนวคิดที่ต้องมีทัศนคติของการร่วมมือและ
                   การยอมรับบทบาททางสังคม ถ้าคนในกลุ่มเข้าใจพันธะส่วนตัวที่ตนต้องปฏิบัติและเข้าใจสถานการณ์ของ

                   คนอื่นแล้ว ทุกคนในกลุ่มก็ได้รับประโยชน์เหมือนกันหมด (ส่วนนี้คิดว่าน่าจะคล้ายกับเรื่องพื้นที่สาธารณะกับ
                   พื้นที่ส่วนตัวไร้เส้นแบ่งของสังคมในชนบทไทย) ดังนั้น ในการตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องและมี
                   ความสำคัญต่อกลุ่ม ทุกคนจะตัดสินใจโดยคำนึงถึงความคิดของคนอื่นมากกว่ายึดถือความเชื่อและความคิด

                   เห็นของตน โดยคิดว่าการเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นการหลีกเลี่ยงการทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
                   ยิ่งกว่าการแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างตรงไปตรงมา คนญี่ปุ่นจึงถูกมองว่ามีค่านิยมพิเศษในเรื่องการ
                   นึกถึงซึ่งกันและกัน การเป็นคนที่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา การมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของคนอื่น และการมี

                   ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น นอกจากนี้ ยังมีการช่วยกันหาข้อมูลให้กลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อ
                   หามติร่วม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังกล่าวทำให้ความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างคนในกลุ่มดีขึ้น
                   ทั้งยังเปิดโอกาสให้รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของสมาชิก และสิ่งที่ทำให้ความกลมเกลียวยังคงอยู่ต่อไปได้
                   คือ พันธะหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีต่อครอบครัว ต่อตระกูล และต่อประเทศของตน นั่นก็คือ อน  กิริและนินโจ
                                                                                                          4
                                                                                             3
                   นั่นเอง

                         คนญี่ปุ่นตีความพฤติกรรมถูกผิดของคนในแง่ของพันธะหน้าที่มากกว่าด้านศีลธรรม พันธะหน้าที่เป็น
                   กฎระเบียบของระบบเก่าในสังคมญี่ปุ่นที่มีมาก่อนกฎหมายสมัยใหม่ พันธะหน้าที่ได้รับอิทธิพลทั้งแนวคิดและ

                   แนวปฏิบัติมาจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งพันธะหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมญี่ปุ่นนี้เองที่ทำให้ญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นสังคม
                   ต่างตอบแทนและเป็นสังคมของการพึ่งพา


                         นอกจากนี้ สังคมญี่ปุ่นยังมีการจัดลำดับชั้นภายในกลุ่มชุมชน ภายในกลุ่มองค์กร และภายในครอบครัว
                   การจัดลำดับชั้นภายในกลุ่มทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มคนออกเป็นคนในและคนนอกซึ่งมีอยู่ในทุกวงการตั้งแต่กลุ่ม



                         3    อน - เป็นพันธะหน้าที่ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและเป็นค่านิยมที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถรักษาความเป็นระเบียบ
                   ทางสังคม เป็นพันธะที่สร้างความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในสังคมให้เกิดได้อย่างต่อเนื่อง เป็นพันธะที่ทั้งสร้างและสาน
                   ความผูกพันให้อยู่ต่อไปได้

                         4    กิริและนินโจเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ทำให้ปัจเจกชนทำหน้าที่ได้ถูกต้องตามบรรทัดฐานของสังคม
                   และเป็นตัวเชื่อมโยงปัจเจกชนให้เข้ากับผู้อื่น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30