Page 21 - kpi10607
P. 21
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
20 ข้อดีอย่างหนึ่งของการเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรง คือ การเลือกตั้งมีความคึกคักและการรณรงค์หา
สถาบันพระปกเกล้า เสียงมีความเข้มข้น ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกผู้ว่าราชการ
จังหวัดและนายกเทศมนตรีด้วยตนเอง นอกเหนือจากที่เลือกสมาชิกสภา แต่ในทางตรงข้ามการเลือกตั้ง
ผู้บริหารโดยตรง ทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็งในการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีหลายกรณีที่ผู้สมัครผู้บริหาร
ท้องถิ่นไม่สังกัดพรรคหรือได้รับการสนับสนุนจากหลาย ๆ พรรค ทำให้ตัวบุคคลกลายเป็นประเด็นสำคัญ
ขณะที่แนวนโยบายพรรคการเมืองกลับไม่มีความสำคัญเลย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องพลวัตของการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านวิเทศสัมพันธ์เป็น
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารท้องถิ่นของญี่ปุ่นพยายามทำให้ท้องถิ่นของตนได้ติดต่อกับโลกภายนอก
ที่มีแข่งขันกันสูง และพยายามสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะ “เมืองพี่เมืองน้อง” กับต่างประเทศ ซึ่งหลักการ
อิสระของท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนนั้นได้เปิดทางให้แก่ท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรม
ด้านต่างประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลกลาง
ถึงแม้ว่า หลักการอิสระของท้องถิ่นจะมีข้อดีที่ทำให้การปกครองท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้
แต่ท้องถิ่นของญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาหนัก ๆ เพิ่มขึ้นหลายด้าน เช่น ปัญหาการหาทางออกสู่เศรษฐกิจ
ต่างประเทศด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองธุรกิจของท้องถิ่น ปัญหาการสร้างความเป็นนานาชาติ
(internationalization) ให้แก่สังคมท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องไปกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและ
สังคมโลก (globalization) ปัญหาการพึ่งงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลกลางซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ เพราะหมาย
ถึงการสูญเสียความเป็นอิสระของท้องถิ่น รวมทั้งปัญหาการประนีประนอมกับแนวนโยบายของพรรคการเมือง
ที่ควบคุมรัฐบาลกลาง ทั้งยังมีปัญหาสังคมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาคนสูงอายุมี
จำนวนเพิ่มขึ้น และปัญหาคุณภาพชีวิต ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ชุมชนท้องถิ่นยังเชื่อว่าการปกครองตนเองสามารถ
หาทางออกให้แก่ปัญหาเหล่านี้ได้ ระบบการปกครองท้องถิ่นจึงบรรจุผู้นำทางการเมืองที่สามารถตอบสนอง
ปัญหาของท้องถิ่นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงให้โอกาสแก่ผู้นำใหม่ ซึ่งอาจมีแนวคิดใหม่ ความกล้าหาญ
และมีอายุน้อยกว่า จะเห็นได้จากการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร ที่มีคนรุ่นใหม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา
ทำงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ คำว่า “ท้องถิ่น” ในแนวความคิดเรื่อง “ความเป็นอิสระของท้องถิ่น” หมายถึง การบริหารนอก
เหนือจากส่วนกลาง โดยไม่มีการแบ่งแยกส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นออกจากกันเหมือนอย่างประเทศไทย
แต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมีการแยกเป็นส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น จนมีสภาพใกล้เคียงกับประเทศ
ไทยในปัจจุบัน กล่าวคือ มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย มีการเลือกตั้งสภา
นคร เมือง-หมู่บ้าน นายกเทศมนตรีนครได้รับการเลือกตั้งโดยสภาเสนอชื่อผู้เหมาะสม 3 คน รัฐมนตรี
มหาดไทยจะคัดเลือกเหลือ 1 คน แล้วจักรพรรดิจะทรงโปรดเกล้าแต่งตั้ง ส่วนหัวหน้าบริหารเมืองและหมู่บ้าน
นั้น สภาจะเป็นผู้เสนอชื่อและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ ระบบดังกล่าวเริ่มใช้ภายหลังการประกาศใช้
พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ ในปี ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2331) ซึ่งตรงกับกลางสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทยนั่นเอง
การปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่นแบ่งหมู่บ้าน-เมือง-นคร เป็นอิสระจากกันในทางภูมิศาสตร์และทางการ
ปกครอง ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ในทางภูมิศาสตร์แล้วหมู่บ้านขึ้นกับตำบล ตำบลขึ้นกับอำเภอ และ
อำเภอขึ้นกับจังหวัด อันเป็นการจัดระบบที่สอดคล้องกับหลัก “รวมศูนย์อำนาจ” แต่ระบบการปกครองท้องถิ่น
ของญี่ปุ่นมีเพียง 2 ระดับ คือระดับจังหวัดและระดับรองลงมา ซึ่งเป็นมหานคร-นคร-เมือง-หมู่บ้านอย่างใด
อย่างหนึ่งเท่านั้น ในแง่นี้กรุงเทพมหานครของไทยจึงมีการกระจายอำนาจแค่ครึ่งเดียว คือในระดับผู้ว่าเท่านั้น