Page 20 - kpi10607
P. 20

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                  1


                       ประชาธิปไตยรัฐสภาแบบของอังกฤษโดยมีหัวหน้าบริหารรัฐบาลกลางคือ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
                       ของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในแง่หนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะ “หัวมังกุท้ายมังกร” ทั้งนี้เพราะ
                       รูปแบบการเมืองระดับชาติเป็นแบบอังกฤษ ขณะที่รูปแบบการเมืองระดับท้องถิ่นเป็นแบบสหรัฐอเมริกา     สถาบันพระปกเกล้า
                       การผสมผสานเช่นนี้จึงก่อให้เกิดพลวัตในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนสูงมาก สังคมญี่ปุ่นเป็น

                       สังคมที่ยึดหลักจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด แม้แต่ผู้นำสูงสุดทางการเมืองก็สามารถถูกจับกุมได้ถ้ากระทำความ
                       ผิด ดังนั้น ทุกคนต้องระวังความประพฤติของตนให้ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่รักษา

                       ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมญี่ปุ่นไว้

                                  การปกครองท้องถิ่นในญี่ปุ่นได้รับการวางรากฐานประชาธิปไตยเรื่อยมาตั้งแต่สมัยเมจิ ซึ่งมีจุดเด่น
                       คือ ความต่อเนื่องของการดำรงอยู่ของสถาบันสภาท้องถิ่น ไม่มีการยุบสภาท้องถิ่นหรือสภาผู้แทนราษฎรโดยใช้

                       วิธีการรัฐประหาร พรรคการเมืองซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่ทำให้ระบบประชาธิปไตยเคลื่อนไปข้างหน้าไม่เคย
                       ถูกยุบด้วยอำนาจคณะรัฐประหาร หัวหน้าบริหารท้องถิ่นที่มาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทยสามารถ
                       ควบคุมสภาท้องถิ่นได้ และความต่อเนื่องที่ยาวนานมากกว่าครึ่งศตวรรษนี้ยังได้วางรากฐานให้แก่การปฏิรูป
                       การปกครองท้องถิ่นสมัยหลังสงครามอย่างดียิ่งอีกด้วย


                                  ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจในญี่ปุ่นนั้นหมายถึง “ความเป็นอิสระของท้องถิ่น” (Local
                       Autonomy) ซึ่งมีจุดสำคัญคือ หลักความเป็นอิสระของท้องถิ่นได้รับการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1946

                       (พ.ศ. 2489) อย่างชัดเจน โดยมีหมวดอยู่รวมทั้งหมด 4 มาตรา (มาตรา 92-95) มีผลทำให้กระทรวงมหาดไทย
                       เดิมที่เคยมีอิทธิพลสูงในการครอบงำท้องถิ่นสมัยก่อนสงครามถูกลดอำนาจลงอย่างเด็ดขาด และเปลี่ยนชื่อ
                       เรียกเป็นกระทรวงกิจการภายใน (Ministry of Home Affairs) ไม่มีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าบริหารท้องถิ่น ไม่มี

                       อำนาจควบคุมกรมอัยการซึ่งถูกโอนไปอยู่กับกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ยังไม่มีอำนาจควบคุมกรมตำรวจ
                       หน่วยงานตำรวจท้องถิ่น (ในช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การยึดครองของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2488-2495) อยู่ภายใต้
                       การควบคุมของหัวหน้าบริหารท้องถิ่น แต่หลังจากญี่ปุ่นได้เอกราชคืนกลับมาโดยสมบูรณ์แล้ว อำนาจควบคุม
                       ตำรวจท้องถิ่นบางส่วนได้ถ่ายโอนเข้าสู่ส่วนกลางภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้งานของกระทรวง

                       ปกครองตนเองในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มาก งานที่สำคัญคือ การเลือกตั้งและการจัดทำงบประมาณเสนอรัฐบาล
                       เพื่อขอเงินอุดหนุนให้แก่องค์การปกครองท้องถิ่น

                               อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงของวัฒนธรรมทางการเมืองญี่ปุ่น ลักษณะเอกรัฐของชาติญี่ปุ่น และ

                       การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ คือ งบประมาณการพัฒนาท้องถิ่นไม่
                       เพียงพอ ปัญหานี้มีส่วนทำให้ท้องถิ่นยังต้องพึ่งพาส่วนกลางในระดับสูง ส่งผลให้ผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นที่

                       สังกัดพรรคเดียวกับพรรครัฐบาลได้เปรียบคู่ต่อสู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรครัฐบาล และสามารถ
                       รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยอ้างจุดแข็งของตนในข้อนี้ด้วย

                               ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของการปกครองท้องถิ่นในญี่ปุ่น นอกจากเรื่องความเป็นอิสระในทาง

                       ทฤษฎีและการต้องพึ่งพาส่วนกลางในทางปฏิบัติ นั่นคือ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงแทนที่จะให้สภา
                       เลือกอย่างกรณีการเมืองระดับชาติ ทั้งนี้เพราะระบบเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนำมาจากแบบแผนของ
                       สหรัฐอเมริกา ทำให้ญี่ปุ่นมีระบบเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายผู้บริหารสองแบบ คือ แบบเลือกตั้งทางอ้อมในระดับชาติ
                       และแบบเลือกตั้งโดยตรงในระดับท้องถิ่น
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25