Page 23 - kpi10607
P. 23
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
22 . คนญี่ปุ่นกับความรู้สึกร่วมของความเป็นกลุ่ม
สถาบันพระปกเกล้า พระเจ้าแผ่นดินในสมัยที่เรียกว่ายุคเมจิ ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศมากมาย โดยสร้างความ
ภายหลังที่ประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนระบบการเมืองและสังคมแบบเจ้าขุนมูลนายมาเป็นการปกครองโดยมี
มั่นคงให้ประเทศ สร้างอุตสาหกรรม เพื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้ของสิ่งที่รัฐวางแผนไว้ ทั้งยังมีการริเริ่ม
นโยบายต่างประเทศเชิงรุกด้วยการยึดเกาะริวกิว พร้อมทั้งต่อสู้กับต่างชาติโดยเฉพาะเกาหลี จีน รัสเซียและ
สหรัฐอเมริกา ความแข็งกระด้างของนโยบายต่างประเทศและความวุ่นวายในประเทศ ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้อง
รวมพลังคนในชาติเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ในช่วงนี้เองที่ผู้นำ
และประชาชนต่างมีค่านิยมร่วมกัน คือ ความซื่อสัตย์ การจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ และการเสียสละเพื่อ
ประเทศชาติ ทำให้สังคมญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ยุคเมจิจึงได้ชื่อว่าเป็นยุคของการวางรากฐานของประเทศ
ให้เข้าสู่ความทันสมัย เป็นยุคที่มีความพร้อมทั้งในสิ่งที่รัฐได้วางแผนไว้และความพร้อมใจของประชาชนที่มี
ความต้องการพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า การเตรียมความพร้อมของประเทศ
ญี่ปุ่นสู่ความสำเร็จได้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่สมัยเมจิเป็นต้นมา
การเปลี่ยนแปลงในยุคเมจิและการทำประเทศให้ทันสมัยได้ส่งผลต่อคนทุกชนชั้นรวมไปถึงชีวิตทาง
สังคมและแนวคิดของคนญี่ปุ่น ผู้นำยุคเมจิเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อให้ประชาชน
อ่านออกเขียนได้ โดยการนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาพัฒนาระบบการศึกษาพร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน
ไปศึกษาในต่างประเทศ การศึกษาแบบสากลและความตั้งใจของรัฐบาลได้เปลี่ยนประเทศญี่ปุ่นให้กลายเป็น
ประเทศแรกในเอเชียที่มีประชากรอ่านออกเขียนได้มากที่สุด แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีการพัฒนาระบบการศึกษาของ
ประชาชน แต่คนญี่ปุ่นยังคงไม่ยอมรับแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและความเท่าเทียมทางการศึกษา ทั้งนี้เพราะ
จุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นไปเพื่อให้พลเมืองมีความสามารถในการเป็นพื้นฐานของรัฐที่เข้มแข็ง และมี
จุดเน้นในเรื่องศีลธรรม ความกลมเกลียวทางสังคม และความจงรักภักดี การศึกษาจึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือ
ของรัฐบาลในการปกครองทางการเมือง แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ตรงประเด็นที่ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีวิธีการอย่างไร
จึงสามารถทำให้ประชาชนมีความกลมเกลียว มีระเบียบวินัย และมีจิตวิญญาณที่จงรักภักดีต่อชาติได้
การศึกษาสังคมญี่ปุ่นในบทความ “เสี้ยวหนึ่งของสังคมญี่ปุ่น” (อ้างถึงในยุพา คลังสุวรณ, 2544,
น. 157) ได้กล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับการมองสังคมญี่ปุ่นว่าเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือ
เป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกัน โดยยกตัวอย่างมุมมอง 2 ประเด็นที่แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มี
วัฒนธรรมเดียวกัน คือ ประเด็นแรก ถ้ามองสังคมญี่ปุ่นอย่างที่คนญี่ปุ่นเป็นแล้ว การร่วมมือกันทำงานและการ
รวมกลุ่มน่าจะเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกัน และประเด็นที่สอง
ถ้ามองถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว ความเป็นเกาะและการอยู่อย่างโดดเดี่ยวส่งผลให้เกิดการรวมตัวอย่าง
เหนียวแน่น และทำให้สังคมญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมแบบเดียวกันด้วย ขณะเดียวกันความเป็นเกาะหรือการอยู่อย่าง
โดดเดียวก็ทำให้ญี่ปุ่นมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ไอนุ เกาหลี บูราคูมิน เป็นต้น จึงทำให้ญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็น
สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ญี่ปุ่นก็สามารถสร้างความรู้สึกร่วมในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้
เช่นกัน
สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มแต่ก็ยอมรับให้คนนอกกลุ่มเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งของสังคม และรัฐบาลสามารถทำให้คนนอกกลุ่มกลายมาเป็นคนญี่ปุ่นได้ การทำให้กลุ่มคนที่มีความ
แตกต่างทางชาติพันธุ์สามารถอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นและมีวัฒนธรรมแบบเดียวกันได้นั้น ยุพา คลังสุวรรณ (2544,
น. 158) ได้อธิบายไว้ในหนังสือวัฒนธรรมญี่ปุ่นถึงเรื่องที่มาของรูปแบบสังคมญี่ปุ่นไว้ 9 กรณี ได้แก่