Page 18 - kpi10607
P. 18

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                  1


                               การจัดลำดับความสูงต่ำทางสังคมและทางทหารทำให้เกิดสิทธิต่างๆ ขึ้น การจัดลำดับความสูงต่ำไม่
                       เพียงแต่เกิดขึ้นในบรรดาเจ้าผู้ครองเท่านั้น สังคมยังถูกแบ่งตามความสูงต่ำของกลุ่มอาชีพ ดังนั้น ชนชั้นทาง
                       สังคมจึงมี 4 ชนชั้นด้วยกัน คือ ชนชั้นซามูไรหรือนักปกครอง ชนชั้นชาวนา ชนชั้นช่างฝีมือ และชนชั้นพ่อค้า   สถาบันพระปกเกล้า


                                  รูปแบบของระบบศักดินาที่อิเอะยะสุและโชกุนโทะกุงะวะใช้ในระยะต่อมาสามารถอยู่ได้นานจนถึง
                       กลางศตวรรษที่ 19 ผลของการปกครองของโทะกุงะวะ คือญี่ปุ่นถูกบังคับให้อยู่โดดเดี่ยวจากโลกตะวันตก
                       โชกุนโทะกุงะวะมองว่าศาสนาคริสต์เป็นภัยต่อญี่ปุ่น ผู้นับถือศาสนาคริสต์จึงถูกกีดกัน เนื่องจากในช่วงนั้น

                       พ่อค้าโปรตุเกส สเปน และชาวฮอลันดาเข้าไปในญี่ปุ่นได้ โชกุนโทะกุงะวะจึงสั่งห้ามชาวสเปนเข้ามาในประเทศ
                       ญี่ปุ่น ส่วนพ่อค้าชาวฮอลันดาถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่เฉพาะเกาะเดจิมา ในอ่าวเมืองนะงะสะกิ คนญี่ปุ่นถูกห้าม
                       ไม่ให้ออกนอกประเทศ คนญี่ปุ่นที่ออกนอกประเทศไปก็จะถูกห้ามไม่ให้เข้ามาในประเทศอีก เพราะกลัวจะนำ

                       ความคิดที่ล้มล้างระบบการปกครองกลับมา

                                  นโยบายที่สำคัญที่สุดในยุคเอโดะ คือการปิดประเทศญี่ปุ่น นโยบายปิดประเทศทำให้เศรษฐกิจและ
                       สังคมญี่ปุ่นล้าหลัง แต่ในมุมกลับการปิดประเทศมีผลทางบวกต่อสังคมญี่ปุ่นอยู่ ได้แก่


                                  1.  ทำให้ญี่ปุ่นรักษาเอกราชของประเทศไว้ได้ ในช่วงหลังคริสต์ศักราชที่ 16 เป็นต้นมา ประเทศ
                       ต่าง ๆ ในเอเชียตกเป็นเมืองขึ้นของชาวตะวันตก การปิดประเทศจึงเป็นนโยบายที่ได้ผลในการรักษาเอกราช
                       ของประเทศ


                                  2.  การปิดประเทศ ทำให้ญี่ปุ่นมีเอกราชทางวัฒนธรรม ทั้งในแง่ความคิดระบบการเมืองวิธีการ
                       ทำงานและแบบแผนการใช้ชีวิตของคนส่วนมากของประเทศ การหล่อหลอมในระบบปิดอย่างเหนียวแน่น
                       ได้ปลูกฝังทัศนคติที่แน่นอนตายตัว จนกลายเป็นลักษณะประจำชาติ เช่น ความขยันขันแข็ง ความมีระเบียบ

                       วินัย การเอาจริงเอาจัง การอ่อนน้อมถ่อมตน ความรู้สึกเป็นคนชาติเดียวกัน และการทำงานเป็นทีม

                                  3.  การสะสมประสบการณ์ ลักษณะพิเศษของสังคมญี่ปุ่นประการหนึ่งคือการสืบตระกูล
                       โดยลูกชายคนโต โดยที่ลูกชายคนโตต้องรับช่วงอาชีพของตระกูลของตน ด้วยเหตุนี้การผลิตหรือการค้าของ

                       บางครอบครัวจึงสืบช่วงกันมานับสิบชั่วคน การสืบช่วงงานนั้นสามารถสะสมประสบการณ์ในสาขาของตนไว้
                       อย่างละเอียด

                                  ด้วยผลทางบวกดังกล่าว ทำให้ยุคเอโดะจึงเป็นเสมือนยุคเตรียมการสะสมประสบการณ์ของบุคคล

                       ในสาขาต่าง ๆ ไว้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคเมจิ

                            1.2  การเปลี่ยนแปลงเมจิ : ปฏิวัติสังคม


                               การปฏิรูปเมจิในปี ค.ศ. 1868 ญี่ปุ่นเริ่มนำพาประเทศไปสู่ความทันสมัยทั้งในสถานภาพทาง
                       เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ยุคนี้เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ซึ่งผู้นำของประเทศสนใจกับการเปลี่ยน
                       ภายในประเทศและการวางพื้นฐานความทันสมัย กล่าวคือเริ่มมีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง

                       เน้นอุตสาหกรรมหนัก วางระบบการศึกษาของชาติตามแนวปรัชญาตะวันตก

                                  ญี่ปุ่นต้องการสร้างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีอำนาจทัดเทียมประเทศตะวันตก ญี่ปุ่นได้
                       สร้างคำขวัญว่า “ทำประเทศให้ร่ำรวย สร้างกองทัพให้แข็งแกร่ง”
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23