Page 19 - kpi10607
P. 19

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




            1              การเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยเมจิ (Meiji Restoration) ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบทางการ

              สถาบันพระปกเกล้า   เมืองและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ



                   ทางการเมืองศูนย์อำนาจของชาติได้เปลี่ยนจากโชกุนและไดเมียว (เจ้าเมืองผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ) มาอยู่ในมือ
                   ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่รวมศูนย์อยู่ที่จักรพรรดิ รวมไปถึง “ซามูไร” ที่เคยดำรงอยู่ควบคู่กับ

                   โชกุนและไดเมียวก็ถูกยกเลิกตามไปด้วย (ไดเมียวได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด) ทำให้ชนชั้นทาง
                   สังคมหมดสภาพลง มีการปรับสังคมให้เท่าเทียมกันและไม่มีอภิสิทธิ์ชนอีกต่อไป ซึ่งแตกต่างจากลักษณะสังคม

                   สมัยก่อนที่คนญี่ปุ่นถูกกดไว้ด้วยระบบสังคมที่ล้าหลัง เช่น ผู้ใช้แรงงานถูกขูดรีดโดยคนชั้นสูง ทำให้ไม่สามารถ
                   สะสมทุนและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ไว้ขยายการลงทุนต่อไปได้ ชาวนาถูกกำหนดให้อยู่ในสถานที่จำกัดและปลูกพืช
                   ตามคำสั่งของไดเมียว ช่างฝีมือถูกแยกชนชั้นจากพ่อค้าทำให้ไม่สามารถร่วมมือกันทำการผลิตและการค้าขนาด
                   ใหญ่ได้ ประชาชนส่วนใหญ่เน้นเรื่องปรัชญาขงจื้อ ตำราคลาสสิคของจีน แต่ไม่ได้เน้นด้านวิทยาศาสตร์และ

                   เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งโรงเรียนโดยจัดการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจน
                   ส่งเสริมให้มีการศึกษาระดับสูงจนถึงมหาวิทยาลัย ทำให้เยาวชนได้รับความรู้ที่ทันสมัยที่จำเป็นในการสร้าง

                   เศรษฐกิจและสังคมให้ทันสมัยขึ้น

                           การเปลี่ยนแปลงสมัยเมจิยังทำให้คนญี่ปุ่นรู้จักคำว่า “ความเสมอภาค” จากสังคมที่เสมอภาคด้วย
                   ระดับการศึกษาของประชาชนที่สูงขึ้น นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่มีต่อสังคม คนญี่ปุ่นจึงพยายามสร้างชาติของ

                   ตนให้ทัดเทียมอารยประเทศ

                              ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมยังก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและ
                   การบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากชนบทเข้ามาในเมืองเกษตรกร ในชนบทสามารถ

                   เลือกผลิตพืชที่เห็นว่าจะให้ผลตอบแทนสูงสุด แรงงานในภาคเกษตรกรรมก็เข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและ
                   พาณิชยกรรมที่มีค่าแรงสูงกว่า เป็นผลทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ดีขึ้น

                        1.3  การแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง : ปฏิวัติประชาธิปไตย


                           หลังจากที่โชกุนหมดอำนาจลงในสมัยการเปลี่ยนแปลงเมจิ ส่งผลให้ทหารกลับมามีอำนาจแทน
                   ทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองและแพ้สงครามในที่สุด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลังแพ้สงคราม

                   คือ

                           1.  กองทัพญี่ปุ่นที่เคยมีอำนาจถูกทำลายลง ทำให้พลังต่าง ๆ ในสังคม เช่น ชาวนา กรรมกร
                   ปัญญาชน สื่อมวลชน ผู้ประกอบการ ได้ปรับตนเข้าหาดุลยภาพของสังคม เป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการสร้าง

                   ประชาธิปไตย

                           2.  รัฐธรรมนูญใหม่ที่ถูกร่างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ประกันความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ
                   ขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ ทำให้สังคมญี่ปุ่นเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ติดตามมากับความเป็น

                   ประชาธิปไตย คือ ความเป็นชนชั้นกลางของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรากฐานอันมั่งคงของสังคม การเก็บภาษีอัตรา
                   ก้าวหน้าทำให้รายได้ขั้นสุดท้ายของคนในสังคมไม่แตกต่างกันมากนัก

                           นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ญี่ปุ่นมีระบบการเมืองที่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

                   อย่างเต็มที่โดยนำระบบเลือกตั้งหัวหน้าบริหารท้องถิ่นโดยตรงตามแบบของสหรัฐอเมริกามาใช้ร่วมกับระบบ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24