Page 17 - kpi10607
P. 17

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




            1

              สถาบันพระปกเกล้า














                   จิตสำนึกสาธารณะกับการพัฒนาท้องถิ่น :

                   ประสบการณ์จากญี่ปุ่น                   1



                        ารศึกษารัฐศาสตร์ทั่วไป ประชาธิปไตย หมายถึง หลักอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจาก
                   กประชาชนที่มีความเสมอภาค เสรีภาพ และศักดิ์ศรี ซึ่งสะท้อนออกมาทั้งในด้านโครงสร้างสถาบัน เช่น

                   รัฐสภาที่มีมาจากการเลือกตั้งเสรีมีฐานะอำนาจสูงส่งและในด้านจิตใจวิถีชีวิต บุคลิกภาพ กระบวนการอบรม
                   เช่น มีจิตใจยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย สำหรับประเทศประชาธิปไตยในตะวันตกนั้นเราได้เห็นประวัติศาสตร์

                   การสะสมปรัชญาประชาธิปไตยในความคิดของปราชญ์สมัยโบราณ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานการจัดสถาบัน
                   การปกครองที่มุ่งพิทักษ์เสรีภาพของประชาชน ตลอดจนรากฐานวิถีชีวิตบุคลิกภาพแบบยอมรับในปัจเจกนิยม
                   ในระยะหลังมีการเน้นถึง “จิตใจประชาธิปไตย” ว่ามีความสำคัญมาก นั่นคือ จิตใจที่มุ่งเคารพในศักดิ์ศรีบุคคล
                   นิยมความเสมอภาคเสรีภาพส่วนบุคคล สำนึกในหน้าที่พลเมือง ฯลฯ คือไม่มีจิตใจแบบตรงข้าม เช่น

                   มอบความรับผิดชอบบ้านเมืองให้ผู้นำ นิยมอำนาจเด็ดขาด ฯลฯ (ศิริพร วัชชวัลคุ, 2542, หน้า 1)

                   1. บริบททางประวัติศาสตร์


                         การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญของญี่ปุ่น

                        1.1  ยุคญี่ปุ่นปิดประเทศ


                           หลังจากที่ผู้นำบรรดาก๊กต่าง ๆ ทำสงครามกันในปี ค.ศ. 1597 จนในปี ค.ศ. 1600 โทะกุงะวะ
                   อิเอะยะสุ ได้รับชัยชนะการรบที่เซกิงะฮะระ และได้ตั้งตนเองเป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นผู้นำที่มี
                   อำนาจมากที่สุดในประเทศ อิเอะยะสุรวบรวมประเทศได้เป็นปึกแผ่นจึงย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองเอโดะ (โตเกียว

                   ในปัจจุบัน) และได้ออกประมวลกฎหมายที่เรียกว่า ระบบบะกุฮัน (Bakuhun system)  จักรพรรดิ
                                                                                                2
                   ข้าราชบริพารในราชสำนึกไดเมียวและผู้บริหารจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ไดเมียวจะเป็นผู้ปกครอง
                   สูงสุดในดินแดนของตน




                         1    วีรบูรณ์ วิสารทสกุล และสร้อยมาศ รุ่งมณี  บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง โครงการศึกษา
                   แนวทางในการเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการพัฒนาท้องถิ่น ที่สนับสนุนโครงการโดยสถาบันพระปกเกล้า

                         2    ระบบบะกุฮัน (Bakuhun system) เป็นศัพท์ที่นักประวัติศาสตร์ใช้เมื่ออธิบายถึงเศรษฐกิจ รัฐบาล สังคม
                   ของยุคเอโดะ (1600-1868) ระบบนี้ทำให้ซามูไรเป็นชนชั้นปกครองส่วนใหญ่ได้หันมาเป็นทหารเต็มเวลา และรู้สึกว่าตน
                   เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกสรร ส่วนคนอื่นในสังคมอยู่ต่ำกว่าชนชั้นนักรบของตน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22