Page 24 - kpi10607
P. 24
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
2
1. การอยู่ร่วมกันอย่างแออัดในที่แคบ ๆ สร้างนิสัยของความร่วมมือร่วมใจกัน
2. การปลูกฝังทางด้านศาสนาในการปฏิบัติธรรมของพุทธนิกายเซ็นที่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจน
ตายตัว ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทำให้คนญี่ปุ่นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกลุ่ม สถาบันพระปกเกล้า
3. รูปแบบของสังคมที่ปรากฏในการสอนในสถานศึกษาโดยอาจารย์เป็นสิ่งหล่อหลอมให้นักศึกษา
ทำตามรูปแบบเดียวกัน
4. ประเพณีปฏิบัติของคนญี่ปุ่นที่ต้องทำตัวเองให้เข้ากับสังคมและเป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้
คนญี่ปุ่นทุกคนต้องทำตนไม่ต่างจากคนอื่น
5. คนญี่ปุ่นเชื่อว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมชนชาติเดียว และถือว่าแต่ละคนผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์มา
อย่างเดียวกัน จึงมีวัฒนธรรมความนึกคิด พื้นฐานที่มา และขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเดียวกัน มีพลังทาง
สมองเหมือนกัน คนญี่ปุ่นจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนไม่ว่าจะอยู่แห่งใดในโลก
6. ลักษณะการทำเกษตรกรรมของครอบครัวญี่ปุ่นในอดีต และชีวิตชุมชนในหมู่บ้านได้ทำให้
คนญี่ปุ่นร่วมมือร่วมใจกันทำงานเป็นกลุ่ม
7. พ่อแม่และครูจะสอนให้เด็กทำตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสนับสนุนให้เด็กรู้จักการอิงกลุ่ม
8. แนวคิดเรื่องการตอบแทนบุญคุณทำให้เกิดความต่อเนื่องของการสร้างบุญคุณ และการตอบแทน
บุญคุณระหว่างกลุ่ม เพื่อการพึ่งพิงกันทางสังคม
9. การจัดลำดับชั้นทางสังคมและระบบอาวุโส ทำให้เกิดกลุ่มที่มีความผูกพันกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า รูปแบบสังคมญี่ปุ่นสามารถสร้างกระบวนการขัดเกลาทางสังคมประกอบกับวิถีชีวิตความ
เป็นอยู่รวมทั้งการปลูกฝังทางศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมบุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นให้อยู่ร่วมกัน
เป็นกลุ่ม และให้ความสำคัญต่อกลุ่มมากกว่าปัจเจกบุคคล
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องวัฒนธรรมข้าวที่มีส่วนในการเสริมสร้างให้คนที่อาศัยในพื้นที่เดียวกันต้องร่วมมือ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัวและระดับชุมชน เพื่อความอยู่รอดของชุมชนและป้องกันภัย
อันตรายจากภายนอก ความร่วมมือนี้มีมานานจนทำให้ปัจเจกบุคคลเกิดการพัฒนาความรู้สึกร่วมของความ
เป็นกลุ่มเดียวกัน และพร้อมที่จะทำตามความต้องการหรือค่านิยมของกลุ่ม โดยมีรัฐเข้ามากำหนดทิศทางและ
ใช้อำนาจตัดสินบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อรักษาความสมดุลของกลุ่มไว้ ดังนั้น อำนาจในความหมายของ
ประชาธิปไตยแบบญี่ปุ่นจึงมีการถ่วงดุลด้วยการหามติเอกฉันท์ระหว่างกลุ่มในการจัดการความสัมพันธ์มากกว่า
การมองเรื่องสิทธิ ความเป็นปัจเจกบุคคลจึงมีความสำคัญน้อยกว่ากลุ่ม
ความเป็นกลุ่มทำให้คนญี่ปุ่นอยู่ในกรอบ มีบรรทัดฐานของกลุ่มที่เป็นตัวควบคุมให้คนปฏิบัติตาม
ซึ่งกลุ่มในสังคมญี่ปุ่น ได้แก่ กลุ่มครอบครัว กลุ่มชุมชน กลุ่มองค์กรธุรกิจ กลุ่มระดับประเทศ หรือเรียกว่า
รัฐแบบครอบครัว ซึ่งถือว่าประชาชนทั้งหมดเป็นสมาชิกของครอบครัวโดยมีองค์จักรพรรดิเป็นหัวหน้า
ครอบครัว กลุ่มของญี่ปุ่นมีทั้งความสัมพันธ์ลักษณะแนวดิ่งและความสัมพันธ์แนวนอน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่
ทำให้ปัจเจกชนสามารถรวมกันเข้าเป็นกลุ่มได้ ประชาธิปไตยจึงอยู่ที่กลุ่มมากกว่าอยู่ที่ปัจเจกชน เพราะกลุ่มมี