Page 26 - kpi10607
P. 26

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                  2


                       ธุรกิจไปจนถึงแวดวงการเมือง โดยที่คนในให้ความรู้สึกอบอุ่นเหมือนกับคนในครอบครัว แต่คนนอกให้ความ
                       รู้สึกอันตราย สกปรกและเป็นสิ่งน่ากลัว เพราะคนญี่ปุ่นถือว่าสิ่งไม่คาดคิดหรือสิ่งไม่ดีอาจจะเกิดขึ้นได้
                       นอกบ้าน                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า


                             ความรู้สึกเรื่องคนในและคนนอกนั้น เป็นแนวคิดที่ผู้ใหญ่ใช้สอนลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวให้
                       กลัวคนภายนอกและเชื่อฟังเฉพาะคนใน ซึ่งนอกจากพฤติกรรมของคนญี่ปุ่นที่ขึ้นอยู่กับแนวคิดเรื่องคนในและ
                       คนนอกแล้ว ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมสาธารณะและความรู้สึกที่แท้จริง ยังทำให้คนญี่ปุ่นมีความรู้สึก

                       ปฏิบัติตัวต่อคนนอกกลุ่มต่างไปด้วย

                             ในเรื่องการรวมพลังกลุ่มนั้น จากการศึกษาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น พบว่า ญี่ปุ่นมีการรวมพลังกันเป็น
                       ช่วง ๆ กล่าวคือ ช่วงเวลาใดที่ญี่ปุ่นต้องการนำความรู้จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ รัฐบาลจะสร้างคำขวัญ

                       เพื่อเตือนสติประชาชนให้รักษาความเป็นญี่ปุ่นและรวมพลังของกลุ่ม และเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณญี่ปุ่นเท่านั้น
                       ญี่ปุ่นจึงมีแนวคิดอยู่ 2 แนวคิดที่ใช้ในช่วงการรับอารยธรรมและความเจริญจากต่างประเทศ ได้แก่

                             1.  แนวคิดวะกอน คันซะอิ หมายถึง ความรู้จีนด้วยจิตวิญญาณญี่ปุ่น แนวคิดนี้กล่าวถึงอุดมการณ์ใน

                       การเรียนรู้ทางเทคนิคจากจีน แต่การเรียนรู้นั้นต้องเข้ากับประเพณีทางวัฒนธรรมที่สืบ ๆ ต่อกันมาของญี่ปุ่นได้

                             2.  แนวคิดวะกอน โยะซะอิ เป็นแนวคิดในสมัยเมจิ แนวคิดนี้กล่าวถึงจิตวิญญาณญี่ปุ่นด้วย
                       เทคโนโลยีตะวันตก อุดมการณ์ของการนำความรู้และเทคโนโลยีจากตะวันตกมาใช้และดัดแปลงให้เข้ากับ

                       ประเพณีพื้นเมืองของญี่ปุ่น

                             ช่วงที่ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจีนและเทคโนโลยีตะวันตกนี้เอง ญี่ปุ่นได้สร้างจิตสำนึกในการรักษาเอกลักษณ์
                       ความเป็นญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน หากญี่ปุ่นเห็นชาวต่างประเทศมองญี่ปุ่นในทางไม่ดี ญี่ปุ่นจะพยายามทำทุกวิธีใน

                       การลบภาพไม่ดี เพราะญี่ปุ่นไม่ต้องการให้ติดภาพลบเกี่ยวกับคนและประเทศญี่ปุ่น จิตวิญญาณจึงเป็นคำที่
                       กล่าวถึงค่อนข้างมาก แต่ไม่มีการจำกัดขอบเขตความหมายในการใช้อย่างชัดเจนและถูกปลูกฝังจนกลายเป็น
                       อุดมการณ์ของสังคม ซึ่งจิตวิญญาณเป็นโครงสร้างภายในของวัฒนธรรมที่มีทั้งจริยธรรม กฎ จารีตประเพณี

                       และค่านิยมทั้งที่เป็นจิตสำนึกและสามัญสำนึกของคน จิตวิญญาณจึงเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่
                       อีกวัฒนธรรมได้น้อยมากและคนญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจยากสำหรับคนภายนอก

                             จากที่กล่าวมาแล้วว่า สังคมญี่ปุ่นประกอบด้วยกลุ่มองค์กรตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน บริษัท ไปจน

                       รัฐซึ่งเป็นกลุ่มระดับชาติ องค์กรเหล่านี้ไม่ว่าจะระดับเล็กหรือใหญ่การให้ความสำคัญอยู่ที่ความเป็นกลุ่มมาก
                       กว่าความเป็นปัจเจกบุคคล เมื่อความสำคัญอยู่ที่กลุ่ม กลุ่มจึงมีการนำแนวคิดและวิธีการต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน
                       สังคม เช่น การจัดลำดับขั้นสูงต่ำภายในกลุ่ม ความกลมเกลียวภายในกลุ่ม ระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ พันธะ

                       หน้าที่มีอยู่ในสังคมที่ต้องตอบแทนและพึ่งพากัน การควบคุมทางสังคมภายในกลุ่ม มาใช้เพื่อเสริมสร้างให้กลุ่ม
                       อยู่ได้อย่างมีระเบียบและมีประสิทธิภาพ ส่วนรัฐใช้การศึกษา ศาสนา และกลุ่มต่าง ๆ เป็นตัวควบคุมให้สังคม
                       เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่รัฐต้องการ


                             อย่างไรก็ตาม การที่สังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่กลุ่มนั้นมิได้หมายความว่าสังคมญี่ปุ่นไม่มี
                       ความขัดแย้งและไม่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมหลงเหลืออยู่ แต่ความเป็นกลุ่มนั้นหมายถึงการทำงานอะไรก็ตาม
                       ที่ทุกคนต้องทำร่วมกัน เพราะสังคมญี่ปุ่นไม่ได้ให้การยอมรับกับบุคคลที่ทำงานประสบความสำเร็จด้วยความ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31