Page 31 - kpi10607
P. 31

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




            0      ร่วมมือกันภายในกลุ่ม ทำงานร่วมกัน มีการปรึกษาหารือกัน และการประสานงานกัน ดังนั้น คนญี่ปุ่นจึงให้

              สถาบันพระปกเกล้า   ความสำคัญกับการทำงานเป็นกลุ่ม/การทำงานเป็นทีม โดยเริ่มตั้งแต่การปรึกษาหารือกันและต้องการมีส่วนร่วม



                   ตั้งแต่แรก เมื่อคิดวางแผนตัดสินใจได้แล้วจึงแบ่งงานกันทำ ซึ่งคนญี่ปุ่นไม่สนใจว่างานที่ตนได้รับมอบหมาย
                   นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด เขาจะพยายามทำงานอย่างดีที่สุดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ฉะนั้น

                   เมื่อทุกคนคิดและทำงานเพื่อส่วนรวม (จิตสำนึกสาธารณะ) ส่งผลให้งานออกมาดีและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม

                           สังคมไทยส่วนใหญ่มีวิธีคิดในการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ร่วมกัน และเพื่อให้ได้รับ

                   ประโยชน์ตามที่ตนและกลุ่มต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมโครงการชุมชนถังขยะทองคำ ขององค์การ
                   บริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาขยะ
                   ในหมู่บ้าน โดยการแยกขยะจากครัวเรือน และนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้รวบรวมเพื่อขายสร้างรายได้ให้แก่

                   ชุมชน เป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าการประสบปัญหาร่วมกัน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่ได้รับ
                   ผลกระทบมารวมตัวเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาของส่วนรวมและส่งผลต่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งสามารถสะท้อน
                   ให้เห็นถึงจิตสำนึกที่มีต่อสาธารณะ


                           จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างในการทำงานเพื่อส่วนรวมของญี่ปุ่นและไทยมีความต่างกันด้านวิธีคิดใน
                   ความเป็นกลุ่ม กล่าวคือ สังคมญี่ปุ่นมีการปลูกฝังหลักคิดที่เน้นการทำงานเพื่อกลุ่มมากกว่าการทำงานส่วนตัว
                   ส่วนการรวมกลุ่มในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตามผลของการ

                   รวมกลุ่มยังประโยชน์เพื่อการทำงานต่อกลุ่มหรือส่วนรวม (สาธารณะ) เป็นหลัก

                         3.  ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์


                           ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศขนาดเล็กประกอบไปด้วยเกาะหลัก 4 เกาะ ได้แก่ เกาะฮอนชูหรือเกาะ
                   ฮอนโดะ เกาะฮอกไกโด เกาะคิวชู และเกาะชิโกะกุ ภูมิประเทศของญี่ปุ่นเกือบทั่วประเทศเป็นภูเขา มีทั้งทิวเขา
                   และยอดเขามากมาย มีภูเขาไฟที่เคยระเบิดและยังไม่ได้ระเบิด มีการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ซึ่งตามชนบท

                   มีการสั่นสะเทือนของภูเขาไฟบ่อยครั้ง นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีพื้นที่ราบน้อยกว่าหนึ่งในห้าของที่ดิน
                   ทั้งหมด ซึ่งพื้นที่หนึ่งในห้าของที่ดินนี้รวมที่ดินที่ต้องใช้ปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงคนส่วนใหญ่ของประเทศ ปัญหา
                   ที่ตามมาก็คือที่ดินทำกินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกหายากและปัญหาการขาดทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ถ่านหิน

                   น้ำมัน และเหล็ก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือน้ำ แม่น้ำของประเทศญี่ปุ่นเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ จึงไม่
                   ต้องวางแผนโครงการทดน้ำขนาดใหญ่ก็ควบคุมน้ำท่วมได้ แม้ว่าแม่น้ำจะเป็นสายสั้น ๆ แต่ก็สามารถนำไปผลิต
                   ไฟฟ้าได้ และชายฝั่งทะเลยังเหมาะสำหรับเป็นท่าเรือที่ดีสำหรับทำอุตสาหกรรมประมงได้ดี รวมทั้งธรรมชาติ

                   ความเป็นเกาะที่มีที่ราบตามชายฝั่ง ทำให้ญี่ปุ่นอยู่ไม่ไกลจากทะเลมาก จึงเอื้อต่อการค้าและการรับอารยธรรม
                   จากการติดต่อค้าขายกับประเทศต่าง ๆ

                              ความเป็นเกาะของประเทศญี่ปุ่นยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวเป็นชุมชนขนาดเล็ก และทำให้

                   ญี่ปุ่นมีพัฒนาการอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่สามารถสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของสังคมพร้อมทั้งจุดประกาย
                   จิตวิญญาณของความเป็นอิสระ ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์   นี้เองที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางวัฒนธรรม
                                                                     5
                   และลักษณะนิสัยใจคอของคนญี่ปุ่น ซึ่งพื้นฐานและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์มีส่วนเสริมสร้างและทำให้คนญี่ปุ่นมี


                         5    ญี่ปุ่นแบ่งภาคเป็น 8 ภาค ตามลักษณะภูมิอากาศ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม ได้แก่ ฮอกไกโด โทฮกกุ
                   คันโต ชูบุ คิงกิ ชุโกะกุ ชิโกะกุ และคิวชู
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36