Page 36 - kpi10607
P. 36

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย







                       ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนการกระทำนั้น หรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียง
                       ประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณ การใช้  สถาบันพระปกเกล้า

                       จ่ายและผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการ
                       ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสาม ให้นำ
                       บทบัญญัติ มาตรา 168 วรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม


                             จุดเด่นสำคัญของกระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหาร
                       งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... คือการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม
                       อย่างมีความหมายในกระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติฯ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็น (Issue

                       framing) ในการพิจารณาสภาพการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน ประกอบกับ
                       อุปสรรคในเชิงโครงสร้างด้านกฎหมายที่ขัดขวางการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆ และนำ
                       ประเด็นต่างๆ พร้อมข้อเสนอแนะที่ได้ออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Public Consultation) ตาม

                       ภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
                       หรือผู้บริหารท้องถิ่น วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน การออกเสียงประชามติท้องถิ่น ตลอด
                       จนการจัดให้มีการประชุมสาธารณะเปิดเวทีให้มีการวิพากษ์ร่าง พระราชบัญญัติที่ฝ่ายกฎหมายได้ยกร่างมาใน

                       ครั้งแรก โดยในขั้นตอนต่างๆ นั้น จะมีคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและยกร่างกฎหมายว่า
                       ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างทั้งที่เป็น
                       ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่างๆ ผู้แทนจากกรมส่งเสริม

                       การปกครองท้องถิ่น ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                       นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้ามาช่วยกลั่นกรอง พิจารณาความเป็นไปได้ทั้งใน
                       ทางปฏิบัติและในเชิงกฎหมาย และปรับปรุง เพิ่มเติมความเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นในขั้นตอน
                       การดำเนินงานต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


                             นอกจากนี้ ในการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของ
                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... ยังได้มีการศึกษากลไกและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ
                       ประชาชนในต่างประเทศ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สภาพปัญหา ประสบการณ์ กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง และ

                       เงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนตามบทบัญญัติที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                       ฉบับต่างๆ เพื่ออุดช่องว่าง แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และปรับ/เพิ่มกลไกการเข้ามามีส่วนร่วมของ

                       ประชาชนให้เข้าถึงการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มากขึ้น

                             ทั้งนี้ ในการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กร
                       ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... ถือเป็นความพยายามในการสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย

                       คำนึงถึงความหลายหลายและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในแง่ของขนาด ประเภท และ
                       ความสามารถหรือศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระ
                       ในการกำหนดแนวทางการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้เอง โดยได้กำหนดเรื่องที่จะให้ประชาชนเข้ามามี
                       ส่วนร่วมเป็นมาตรฐานขั้นต่ำไว้ตามบริบทของการเมืองท้องถิ่นแบบไทยและไม่ให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

                       เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีมาตรฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ประชาชน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41