Page 35 - kpi10607
P. 35
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิเอเชีย (Asia Foundation) ได้ร่วมกันการดำเนินการ
ศึกษาวิจัยยกร่างพระราชบัญญัติโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
กระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
บริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
สำหรับการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... นั้นมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อรองรับสิทธิการ
มีส่วนร่วมของประชาชนในประเภทต่างๆ ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความยืดหยุ่น
และมีความชัดเจนในทางปฏิบัติ โดยมีกรอบในการยกร่างพระราชบัญญัติคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยพุทธราช 2550 มาตรา 285-287 ซึ่งระบุไว้ดังนี้
มาตรา 285 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่ง
ต่อไป ให้มีสิทธิลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้น
พ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ การตรวจสอบรายชื่อและการลง
คะแนนเสียงให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 286 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธาน
สภาท้องถิ่น เพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อให้เป็นไปตามที่
กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 287 ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ด้วย
ในกรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ในท้องถิ่นในสาระสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ประชาชนทราบก่อนกระทำ
การเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควรหรือได้รับการร้องขอจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กร