Page 38 - kpi10607
P. 38
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
ในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนมากกว่าสามพันคน มีสิทธิ
เข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ สถาบันพระปกเกล้า
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อสามารถเสนอเพียงหลักการและเหตุผลของข้อบัญญัตินั้น โดยไม่จำเป็น
ต้องร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นทั้งฉบับมา โดยกำหนดกลไกเพิ่มเติมให้ประธานสภาท้องถิ่น เลขานุการ
สภาท้องถิ่นและผู้แทนผู้เข้าชื่อร่วมกันร่างข้อบัญญัติให้สมบูรณ์ถูกต้องตามแบบแผน
ห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ภาษีอากร การกู้เงิน
หรือการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยตรง แต่ถ้าร่างดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการเงิน ภาษี อากร
การกู้เงิน หรือการใช้จ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ให้ประธานสภาท้องถิ่นส่ง
ร่างข้อบัญญัติและเอกสารประกอบให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ
สภาท้องถิ่น โดยต้องผู้บริหารเสนอความเห็นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติและ
เอกสารประกอบจากประธานสภาท้องถิ่น
เปิดโอกาสให้ผู้แทนผู้เข้าชื่อหรือผู้เข้าชื่อมาชี้แจงหรือให้คำอธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติมทั้งในขั้นตอน
การยื่นคำร้องและในการพิจารณาของสภา
กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาหาข้อยุติขึ้นมา กรณีที่ประธานสภาเห็นว่าคำร้องที่เสนอมานั้นว่า
ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดสัดส่วนผู้ร่วมเป็นกรรมการคือ
ประธานสภาท้องถิ่นแต่งตั้งจากบุคคลที่ผู้แทนของผู้เข้าชื่อเสนอจำนวนสามคน และบุคคลที่
ประธานสภาท้องถิ่นเห็นสมควรจำนวนสามคน และให้กรรมการทั้งหกคนปรึกษาหารือและเสนอ
บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงกับเรื่องการ
เสนอข้อบัญญัตินั้นเป็นประธานกรรมการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีกรรมการครบตามจำนวน หาก
ตกลงกันไม่ได้ให้ประธานสภาท้องถิ่นแต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่ามีความเหมาะสมและไม่มีลักษณะต้อง
ห้ามดังกล่าวเป็นประธานกรรมการ
กรณีที่สภาท้องถิ่นมีมติไม่รับหลักการหรือมีมติไม่เห็นชอบให้ตราเป็นข้อบัญญัติ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
สามารถเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันนั้นได้อีกเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่สภา
ท้องถิ่นมีมติไม่รับหลักการหรือมีมติไม่เห็นชอบให้ตราเป็นข้อบัญญัติ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง
ในสาระสำคัญก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของสภาว่าจะอนุญาตให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น
นั้นอีกหรือไม่
3) วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น มีสาระสำคัญคือ
กำหนดให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการทบทวนกฎ ระเบียบต่างๆ ที่บังคับใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกี่ยวข้องกับการมี
ส่วนร่วมของประชาชน และให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎ ระเบียบต่างๆ นั้น
โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงาน มีการกระจายอำนาจ
เพิ่มขึ้น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยจะต้องทบทวน
ทุก 3 ปี