Page 39 - kpi10607
P. 39

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                            กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่ระบุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกำหนดวิธีการ ช่องทางที่จะให้

              สถาบันพระปกเกล้า   ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารกิจการขององค์กรปกครอง



                            ส่วนท้องถิ่นในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำงบประมาณรายจ่าย
                            การประชุมสภาท้องถิ่น การกำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินภาษี และกรณีอื่นตามที่

                            มีกฎหมายหรือระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้รูปแบบการมีส่วนร่วมนั้นให้แต่ละองค์กรปกครอง
                            ส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดเองภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

                            และให้เผยแพร่ให้ประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบอย่างทั่วถึง

                            กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
                            กรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน

                            อย่างรุนแรงด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ หรือกระทบต่อ
                            วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ

                            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาใช้ประกอบในกระบวนการตัดสินใจ

                            ต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต
                            หรือมีผลต่อส่วนได้เสียอื่นของประชาชนหรือชุมชน ประกอบกับต้องจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสม
                            และเป็นธรรมเพื่อป้องกัน เยียวยา หรือการชดเชยความเสียหายหรือผลกระทบที่เกิดจากการกระทำ
                            นั้น


                            การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับ
                            ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงในระยะเวลาที่เพียงพอก่อนการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งข้อมูล

                            ที่ประชาชนควรรับทราบนั้นประกอบด้วย 1) สาระสำคัญของการกระทำ 2) สถานที่ วิธีการ ขั้นตอน
                            และระยะเวลาที่จะดำเนินการ 3) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ 4) ผลกระทบของการ
                            ดำเนินการ ทั้งผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งมาตรการป้องกันหรือแก้ไขในกรณีที่อาจมี

                            ผลเสีย 5) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าเมื่อพิจารณาจากผลกระทบ และ 6) รายละเอียดอื่นใดที่จะ
                            ทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเพียงพอ

                            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                            ไม่เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ประชาชนและชุมชนรับทราบ หรือไม่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนที่
                            จะตัดสินใจพิจารณาดำเนินการ และปรากฏว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย


                   4) การออกเสียงประชามติท้องถิ่น มีสาระสำคัญคือ

                            กำหนดให้การลงประชามติในท้องถิ่นนั้นเป็นไปเพื่อการตัดสินใจ มีผลผูกมัดการตัดสินใจของ
                            ฝ่ายบริหาร


                            เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติต้องเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน
                            อย่างรุนแรง ไม่ว่าในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ หรือกระทบต่อ
                            วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ ต้องผ่านการจัดการรับฟังความคิดเห็น

                            มาแล้ว แต่ยังไม่มีข้อยุติ หรือเป็นกรณีที่ประชาชนหรือชุมชนมีความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44