Page 41 - kpi10607
P. 41
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
0 (3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่าห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่น
สถาบันพระปกเกล้า (4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่าหนึ่งล้านคนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนของจำนวนผู้มีสิทธิ
ห้าพันคนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
เลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ปรับคะแนนเสียงที่ใช้ในการถอดถอน โดยจะต้องมีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ
จำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และมีคะแนนเสียงจำนวน
ไม่น้อยกว่าสามในห้าของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง
ถ้าการถอดถอนนั้นตกไปห้ามมิให้อ้างเหตุเดียวกันมาถอดถอนอีกภายใน 1 ปี
6) การรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน มีสาระสำคัญคือ
กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานผลการดำเนินงานแก่ประชาชนในรอบปี ได้แก่
(1) การจัดทำงบประมาณโดยอย่างน้อยต้องมีรายการเปรียบเทียบระหว่างประมาณการรายรับกับ
รายรับจริง และประมาณการรายจ่ายกับรายจ่ายจริง ของแต่ละรายการ รวมทั้งเงินสะสมและเงินกู้
(2) การใช้จ่ายตามหมวดหรือประเภทรายจ่าย รายละเอียดของรายจ่ายประจำและรายจ่ายเพื่อการ
ลงทุนในแต่ละรายการ และรายการรายจ่ายจากเงินสะสมและเงินกู้ รวมทั้งรายจ่ายในส่วนของเงิน
เดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินรางวัล (3) ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำโครงการต่าง ๆ
การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสัญญาซื้อและจ้าง การจัดเก็บภาษี เรื่องร้องเรียน การทุจริต การ
ดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง การกระทำละเมิด และการเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด
(4) ผลการดำเนินการตามรายงานการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน องค์กรตรวจสอบ
หรือองค์กรอิสระอื่น ๆ สำหรับการตรวจสอบในปีใดก็ตาม ที่ปรากฏผลเป็นที่ยุติในปีนั้น โดย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องรายงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณนั้นๆ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีการประชุมประชาชนเพื่อรายงานการดำเนินงานในรอบปี
เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้ได้จริง จึงได้มีการกำหนดแนวทางในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เข้าสู่
การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ดังนี้
การขับเคลื่อนเชิงสถาบัน สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนเชิงสถาบันนั้น ได้มีการกำหนด
ช่องทางในการขับเคลื่อนโดยประสานงานผ่านหน่วยงานราชการ สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด
แห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยและสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล
แห่งประเทศไทย และ สภาพัฒนาการเมืองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันตามพระราชบัญญัติว่า
ด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ด้วยการรับหน้าที่เป็นแกนนำเสนอกฎหมาย พร้อมทั้งเป็นผู้รวบรวม
ลายมือชื่อ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมี
แนวทางในการผลักดันโดยเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อเสนอต่อคณะกรรมการกระจายอำนาจ