Page 42 - kpi10607
P. 42
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
และสภาผู้แทนราษฎรผ่านทางคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการ
พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยตรงเพื่อนำร่างพระราช
บัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป สถาบันพระปกเกล้า
อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะดำเนินไปใน 2 แนวทาง
แนวทางแรก คือ การผลักดันทั้งฉบับ นั่นหมายถึงการเสนอเข้าสู่การพิจารณาทั้งร่าง ซึ่งเป็น
แนวทางที่ดำเนินการในปัจจุบัน ดังกล่าวข้างต้น
แนวทางที่สอง คือ การผลักดันบางส่วน ในระหว่างการยกร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีประเด็นแลกเปลี่ยนว่า
ไม่ควรรวมเรื่องการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ การถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นและการ
รับฟังความคิดเห็นและการลงประชามติท้องถิ่นไว้ด้วยกัน ประกอบกับเรื่องการเสนอชื่อเสนอ
ข้อบัญญัติและการถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นมีกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว การเสนอ
แก้ไขปรับปรุงอาจดำเนินการได้ง่ายกว่า ซึ่งปัจจุบันกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เสนอ
ให้มีการแก้ไข ดังนั้นการผลักดันเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่ง
การขับเคลื่อนสู่สาธารณชน เป็นการขับเคลื่อนโดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อ
ประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่ร่างพระราช
บัญญัติฉบับนี้ผ่านทางคลื่นวิทยุของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีกรรมการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนและยกร่างกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ชี้แจงสาระ
สำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีการเผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับ
วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ของสถาบันพระปกเกล้า และเว็บไซต์ของ
โครงการ www.kpi-participation.com