Page 37 - kpi10607
P. 37
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานค่อนข้างน้อยจะต้องปรับแนวทาง/วิธีในการบริหารงาน ดึงประชาชนเข้ามามี
สถาบันพระปกเกล้า ส่วนร่วมมากขึ้นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเหนือกว่ามาตรฐานที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ก็ยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... ฉบับนี้ได้รวบรวมการมีส่วนร่วมของประชาชนประเภทต่างๆ ไว้ในกฎหมายฉบับ
เดียวกัน โดยได้แบ่งออกเป็น 5 หมวด ได้แก่
หมวด 1 การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
หมวด 2 วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 3 การออกเสียงประชามติท้องถิ่น
หมวด 4 การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หมวด 5 การรายงานการดำเนินงานต่อประชาชน
ซึ่งสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... สามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1) ผู้รักษาการตามกฎหมายและคณะกรรมการกลางกำกับการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย
กำหนดให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่
ในการกำกับดูแลมาตรฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
สืบเนื่องจากคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการทำงานที่ใกล้
ชิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เข้าใจถึง
ความแตกต่างของประเภท ขนาดและสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี และเพื่อหลีกเลี่ยง
การจัดตั้งองค์กร/หน่วยงานขึ้นมาใหม่ ประกอบกับเพื่อให้สอดรับกับการให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตาม
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพราะคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่
ภายใต้สังกัดของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง จึงได้กำหนดให้มี
ผู้รักษาการตามกฎหมายและมีคณะกรรมการในการกำกับดูแลข้างต้น
2) การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น มีสาระสำคัญคือ
ลดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นลง โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่าสามพันคนในกรณีที่จำนวนหนึ่ง