Page 32 - kpi10607
P. 32
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
ลักษณะพิเศษทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ที่เป็นเขาและการอยู่อย่างโดดเดี่ยว มีผลทำให้
เกิดทัศนคติการร่วมมือกันภายในหน่วยทางสังคม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านอาชีพปลูกพืชอาหารในพื้นที่
จำกัดนี้มีมานาน ซึ่งคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกันภายในพื้นที่เดียวกัน เพราะเห็นว่าหากไม่ร่วม สถาบันพระปกเกล้า
มือกันก็อาจทำให้ทุกคนไม่สามารถอยู่ได้ ความสำนึกที่แยกคนในและคนนอกอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ในลักษณะ
นิสัยของคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวมานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมแนวคิดและ
วิธีการปฏิบัติของคนญี่ปุ่นให้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ซึ่งแตกต่างจากลักษณะสังคมไทยที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มี
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยว การช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงค่อนข้างแตกต่างจากสังคม
คนญี่ปุ่น เนื่องจากสังคมไทยจะให้การช่วยเหลือในระบบเครือญาติอย่างเข้มข้นกว่าการช่วยเหลือต่อส่วนรวม
และสังคมไทยไม่ได้แยกคนในกับคนนอกออกจากกันอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมกิจกรรมของ
ชาวบ้านในหมู่บ้านสันเหมือง (หมู่ 7) ภายใต้การดูแลของอบต.ดอนแก้ว ที่เปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาอยู่อาศัย
ใหม่ในหมู่บ้านจัดสรรเข้าร่วมกิจกรรมที่อบต.ดอนแก้วและชุมชนจัดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากสังคมญี่ปุ่นที่ไม่ยินยอม
ให้คนที่เข้ามาอยู่ใหม่ในหมู่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมที่เป็นประเพณีสำคัญของหมู่บ้าน ถือเป็นข้อดีของสังคมไทย
ที่สามารถสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนให้กับคนที่เข้ามาอยู่ในชุมชนนั้น ๆ ได้ หากมีการนำไปใช้
ก็สามารถสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน
4. การขัดเกลาทางสังคม
การอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สังคม
ญี่ปุ่นเป็นสังคมลักษณะแนวดิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดลำดับชั้น ขณะเดียวกันสังคมก็เป็นผู้กำหนด
พฤติกรรมของคนในแต่ละชนชั้น รูปแบบพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นเป็นไปตามสถานภาพ ตำแหน่ง และฐานะของ
บุคคลนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นพันธะหน้าที่ที่คนญี่ปุ่นทุกคนต้องปฏิบัติตาม พันธะหน้าที่ที่กล่าวถึงคือ กิริ นินโจ และ
อน กล่าวคือ ผู้มีกิริจะปฏิบัติกับคนเฉพาะกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันทางสังคมในลักษณะการตอบแทน
ถือเป็นการปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานต่อคนเฉพาะกลุ่ม กิริเป็นเสมือนแรงผลักทางศีลธรรม ส่วนนินโจเป็นความ
รู้สึกที่มีต่อผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน และเป็นความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการพึ่งพาใน
ลักษณะหนี้บุญคุณที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างกันได้ ซึ่งสอดคล้องกับอน เพราะอนเป็น
ระบบบุญคุณที่ติดตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การไม่ตอบแทนบุญคุณในสังคมญี่ปุ่นเปรียบเสมือนการทำผิด
บรรทัดฐานของสังคม และเป็นค่านิยมที่ทำให้คนญี่ปุ่นสามารถรักษาความเป็นระเบียบของสังคมไว้ได้ จะเห็น
ได้ว่า กิริ นินโจ และอน เป็นเหมือนกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงให้คนญี่ปุ่นอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม คนญี่ปุ่นจึง
ปลูกฝังค่านิยมดังกล่าวให้กับคนรุ่นใหม่ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการอบรมสั่งสอนของครอบครัว
โรงเรียน ชุมชน ตลอดจนสังคมประเทศ การปลูกฝังค่านิยมดังกล่าวจึงมีความเข้มข้นและหยั่งลึกไปในตัวของ
คนญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นจากการปฏิบัติของคนญี่ปุ่นที่มีความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ พ่อแม่
และผู้มีพระคุณที่เคยให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง และส่งผลให้การปฏิบัติต่อกันของคนในสังคมเป็นลักษณะ
ตอบแทนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความกลมเกลียวของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งความกลมเกลียวกันนี้ถือเป็น
แนวคิดที่มีทัศนคติของการร่วมมือและการยอมรับบทบาททางสังคม ถ้าคนเข้าใจพันธะส่วนตัวที่ตนต้องปฏิบัติ
และเข้าใจสถานการณ์ทางสังคมแล้ว ทุกคนในสังคมก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากสังคม
ไทย แม้ว่าจะมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเช่นเดียวกัน มีการให้ความสำคัญกับเรื่องกตัญญูกตเวทีต่อผู้มี
พระคุณ แต่การปลูกฝังค่านิยมดังกล่าวก็ไม่ได้ลงลึกไปถึงบุคลิกลักษณะชัดเจนเช่นคนญี่ปุ่น กระบวนการ
ขัดเกลาทางสังคมจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสำนึกร่วมต่อสาธารณะที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีความแตกต่างกับ
คนไทยดังที่กล่าวมาข้างต้น