Page 28 - kpi10607
P. 28

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                  2


                       ผลประโยชน์จากหมู่บ้านโดยผ่านผู้นำของหมู่บ้าน จึงทำให้ผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านต้องสร้างความเป็นหนึ่ง
                       เดียวกันเพื่อตอบสนองความต้องการของรัฐท้องถิ่น ความเป็นหนึ่งเดียวของหมู่บ้านนี้ปรากฏชัดเจนในช่วง
                       ปลายสมัยเอโดะหรือสมัยโตกุกาวาที่ชุมชนชาวบ้านถูกขูดรีดมาก จนรวมตัวก่อกบฏขึ้น ซึ่งก่อนการก่อกบฏ  สถาบันพระปกเกล้า
                       ชาวนา การจ่ายภาษีของชาวนาผ่านทางหัวหน้าหมู่บ้าน ไม่ใช่เพราะอำนาจรัฐเข้มแข็ง แต่เป็นเพราะความ

                       พร้อมใจของชุมชนชาวบ้านและความเกรงใจหัวหน้าหมู่บ้าน ทำให้อำนาจการควบคุมพฤติกรรมชาวบ้านเป็นไป
                       อย่างมีประสิทธิภาพ สำนึกความเป็น “กลุ่ม” ของหมู่บ้านมีพลังมากขึ้น เกิดระบบความคิดเรื่อง “มุระฮาชิบุ”

                       (Murahachibu) เป็นการลงโทษผู้ที่ไม่ทำตามคนส่วนใหญ่ด้วยการไม่คบค้าสมาคมทั้งหมู่บ้าน

                             รากฐานการดำรงชีวิตด้วยระบบการผลิตแบบเกษตรกรรมและพลังของรัฐได้หล่อหลอมให้สำนึกของ
                       ความเป็น “กลุ่ม” กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักการดำรงชีวิต ไม่เพียงแค่การมีกลุ่มสังกัดเท่านั้น หากแต่การ

                       สังกัดกลุ่มมีความหมายถึงคนคนนั้นมีพันธกิจและภารกิจ (Obligation and Mission) ต่อกลุ่มไปพร้อม ๆ
                       กัน การสำนึกในพันธกิจและภารกิจของคนคนหนึ่งที่มีต่อกลุ่มจะเรียกร้องให้คนคนนั้นเสียสละให้แก่กลุ่มอย่าง
                       เต็มกำลังความสามารถที่ตนมีและที่กลุ่มขอร้อง สำนึกเช่นนี้จะถูกปลูกฝังสืบต่อกันมา ดังนั้น ความสำนึกใน
                       “กลุ่ม” ของสังคมญี่ปุ่นจึงมีผลต่อกระบวนการถ่ายทอดทางสังคม


                             ความเป็นกลุ่มของคนญี่ปุ่นเป็นผลมาจากรากฐานพัฒนาการของสังคมเกษตรในอดีต ประกอบกับ
                       พลังของรัฐที่สร้างรูปแบบการรวมกลุ่มที่แน่นแฟ้นมากขึ้นเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลมาสู่สังคมสมัยใหม่ พร้อมกับ

                       การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ รัฐญี่ปุ่นเน้นการส่งเสริมและช่วยเหลือแก่ “กลุ่ม” มากกว่าการ
                       ช่วยเหลือแก่พลเมืองเป็นคน ๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ให้ท้องถิ่นสามารถสร้างความเป็นอิสระได้ค่อนข้างสูง

                             ปัจจุบัน “กลุ่ม” ในญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือเกิดความคิดเรื่องพันธกิจใหม่ต่อสังคม

                       กลุ่มชนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยเริ่มรวมกลุ่มกันเป็นเอกชนและองค์กรไม่หวังกำไร ซึ่งองค์กรเหล่านี้สามารถ
                       สร้างความคิดเกี่ยวกับพันธกิจใหม่ต่อสังคมที่แตกต่างไปจากเดิมโดยเน้นพันธกิจที่มีต่อสังคมโดยรวม ได้แก่
                       การสร้างกิจกรรมเพื่อส่วนรวมแบบใหม่ เช่น การใช้ “กลุ่ม” ชนแบบเดิมทำหน้าที่ใหม่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ

                       กัน

                             Sheldon Garon (อ้างถึงใน วีนา ชคัตตรยาพงษ์, 2550, หน้า 9-10) ได้อธิบายถึง “การควบคุมทาง
                       สังคม” ในประเทศญี่ปุ่นว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มเข้าศตวรรษที่ 20 โดยการควบคุมทางสังคมในประเทศญี่ปุ่น จะ

                       พุ่งเป้าไปที่บทบาทของรัฐซึ่งการควบคุมนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการและอำนาจในการปกครองที่
                       เข้มแข็ง จะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ข้าราชการชั้นแนวหน้ารุ่นใหม่ต่างตระหนกว่ารัฐจะต้องบริหาร
                       จัดการทรัพยากรบุคคลให้มากกว่าเดิม โดยกล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่อาจหวังที่จะชนะชาติตะวันตกที่ร่ำรวยและเข้มแข็ง

                       กว่าได้ หากไม่มีการสร้าง “จิตวิญญาณที่เป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชน” ด้วยการเข้มงวดในชีวิตประจำวันให้
                       มากยิ่งขึ้น ภายหลังญี่ปุ่นมีชัยชนะในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นใช้งบประมาณมหาศาลไปกับสงคราม
                       จะต้องกู้ยืมเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้ความแข็งแกร่งของประเทศญี่ปุ่นยังคงตามหลังประเทศ

                       มหาอำนาจต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน รัฐบาลญี่ปุ่นหันมาใช้ระบบบริหารจัดการหลังสงคราม ยกตัวอย่างเช่น
                       นโยบายสร้างชาติให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รัฐได้รณรงค์ให้ประชาชนขยันทำงานและประหยัดอดออม โครงการพัฒนา
                       ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน เป็นต้น ซึ่งความสำเร็จของภาครัฐในการจัดการควบคุมทางสังคมในช่วงร้อยปีนี้
                       เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถผสมผสานระหว่างความทันสมัยและการใช้ชีวิตแบบตะวันตกกับ

                       เป้าหมายในการประหยัดอดออม การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนการทำงานแบบญี่ปุ่น โดยรักษา
                       สมดุลของสังคมได้เป็นอย่างดี
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33