Page 29 - kpi10607
P. 29
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
2 ดังนั้น แนวคิดเรื่องสังคมที่ถูกจัดการของญี่ปุ่น จึงเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทางสังคม
สถาบันพระปกเกล้า โดยรัฐทำหน้าที่วางแนวทางการปฏิบัติรวมถึงข้อบังคับต่าง ๆ ให้ประชาชนได้ปฏิบัติตาม ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
แนวทางหรือข้อบังคับต่าง ๆ กำหนดให้ประชาชนมีเป้าหมายและผลประโยชน์ทางด้านสังคมร่วมกัน เน้นการ
รวมกลุ่มความเป็นสังคม สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ และตอบสนองความ
ต้องการของกลุ่ม
นอกจากนี้ ในสังคมญี่ปุ่นยังยึดถือสำนึกของความเป็น “กลุ่ม” เป็นหลักการดำรงชีวิต ที่ทุกคนมีพันธกิจ
และภารกิจ (Obligation and Mission) ต่อกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน มีความเสียสละให้แก่กลุ่มอย่างเต็มกำลัง
ความสามารถที่ตนมี
. แนวคิดเรื่องการสร้างวินัยแบบญี่ปุ่น
การสร้างวินัยแบบญี่ปุ่นเป็นแนวคิดสร้างความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (Responsible
Citizens) ของคนญี่ปุ่น เป็นการหล่อหลอมความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่เด็กจนเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ประเทศญี่ปุ่นมีระบบการเรียนการสอนและหลักสูตรที่ทำให้เด็กรู้จักหน้าที่และการมีระเบียบวินัยตั้งแต่
สมัยก่อนวัยเรียน โดยหลักสูตรของโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศญี่ปุ่นบรรจุ
โครงสร้างกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันภายในโรงเรียนที่ช่วยหล่อหลอมให้พฤติกรรมและนิสัยของเด็กเป็น
ที่ยอมรับของสังคม สร้างทัศนคติในการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมาย ทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานเป็นกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนในญี่ปุ่นมีระบบ
ผลัดเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้าชั้น เพื่อสร้างความเป็นผู้นำให้กับเด็กนักเรียน ทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้น
ที่จะทำงานเป็นกลุ่ม
ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมปฏิบัตินิยม ซึ่งการปฏิบัตินิยมของญี่ปุ่นจะเน้นรูปแบบซ้ำซากรูปแบบ
เดียวกัน โรงเรียนจะปลูกฝังเด็กตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนและฝึกให้ปฏิบัติทุกวันจนติดเป็นนิสัย โดยโรงเรียน
มีกิจกรรมที่ปลูกฝังและฝึกฝนให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกวินัย ฝึกการปฏิบัติขั้นพื้นฐานการอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่น ฝึกการรักษาเวลา ฝึกความมีระเบียบ ฯลฯ ซึ่งการฝึกรูปแบบเดียวกันโดยให้เด็กกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
จะค่อย ๆ ซึมซับเข้าสู่ตัวเด็กทีละน้อยและฝังอยู่ในตัวเด็กจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
นอกจากนี้ การสร้างวินัยของญี่ปุ่นมีอยู่ในลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ
ชาวญี่ปุ่นถอดรองเท้า เขาจะหันเอาหัวรองเท้าออก เมื่อจอดรถยนต์ก็จะเอาหัวรถออก ทำให้ลำบากตอนจอดรถ
แต่สะดวกเวลาออกรถ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการสร้างระเบียบวินัยของชาวญี่ปุ่น เป็นการให้ความสำคัญกับ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุก ๆ เรื่องของชีวิต
. ปัจจัย / เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความแตกต่างเรื่องจิตสำนึก
สาธารณะระหว่างญี่ปุ่นและไทย (อบต.ดอนแก้ว)
1. รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
เจตนารมณ์ของการปกครองท้องถิ่นอยู่บนพื้นฐานแนวความคิดเพื่อการพัฒนาระบอบปกครองแบบ
ประชาธิปไตย โดยเฉพาะความต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบชุมชนตนเอง และเท่ากับเป็น
การเพิ่มความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสาธารณะให้ทั่วถึงและตรงกับความต้องการของ