Page 30 - kpi10607
P. 30

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                  2


                       ประชาชนในท้องถิ่นตามความจำเป็นในแต่ละท้องถิ่น (โกวิทย์ พวงงาม, 2544, หน้า 3) ดังนั้นความแตกต่าง
                       ของรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีส่วนทำให้การบริหารจัดการสาธารณะแตกต่างไปด้วย

                               ญี่ปุ่นมีโครงสร้างการบริหารจัดการแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารราชการส่วนกลางและ  สถาบันพระปกเกล้า

                       การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยได้เริ่มระบุหลักการ “ความเป็นอิสระของท้องถิ่น (Local Autonomy)”
                       ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1947 นอกจากนี้ยังมีกฎหมายปกครองตนเองของท้องถิ่น (Local Autonomy
                       Law) ซึ่งกำหนดโครงสร้างใหม่ของการบริหารส่วนท้องถิ่นและกระจายอำนาจของรัฐบาลกลางให้กับหน่วย

                       การปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างมาก

                               การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นใช้รูปแบบประธานาธิบดี (แบบสหรัฐอเมริกา) ที่ผู้ว่าราชการ
                       จังหวัดและนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การปกครองใน

                       ระดับจังหวัดจะมีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมหน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับเทศบาล หากแต่จังหวัดไม่สามารถ
                       ใช้อำนาจสั่งการเทศบาลได้ เนื่องจากจังหวัดและเทศบาลมีสถานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีความ
                       เท่าเทียมกัน


                               การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ก่อนปี ค.ศ. 1947 มีการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
                       ซึ่งคล้ายกับลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน กล่าวคือในประเทศไทยยังมีรูปแบบ
                       การปกครองที่รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้หน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะตกอยู่กับรัฐบาลกลางหรือ

                       การบริหารราชการส่วนภูมิภาคมากกว่าจะเป็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำนาจของรัฐบาลกลาง
                       ครอบคลุมไปยังจังหวัด อำเภอ และตำบล แม้ว่าแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีสภาท้องถิ่น และนายก
                       เทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่มีอำนาจมากนัก นโยบายต่างๆ จะ

                       กำหนดมาจากรัฐบาลกลาง รวมทั้งมีตัวแทน/ข้าราชการภาครัฐ (ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่
                       บ้าน) เป็นผู้ดูแลในระดับต่างๆ ควบคู่ไปกับการบริหารส่วนท้องถิ่น

                               จะเห็นได้ว่า รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีการแข่งขันของการเลือกตั้งสูง การที่

                       ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้มีการทำงานที่เน้นผลงานด้านการพัฒนา
                       จังหวัดของตน และเน้นบริการสาธารณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชน ทั้งนี้เพื่อสร้างฐานคะแนน
                       นิยมในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป ในขณะที่การปกครองท้องถิ่นของไทยยังมีข้อจำกัดในการทำงาน กล่าวคือ

                       รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลให้การทำงานเพื่อสาธารณะและการมีส่วนร่วม
                       ของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำงานเพื่อสาธารณะของไทยมีแตกต่างกับญี่ปุ่น


                             2.  ความรู้สึกร่วมของความเป็นกลุ่ม

                               การทำงานเป็นกลุ่มเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการทำงานเพื่อส่วนรวม
                       และเกิดจิตสำนึกที่ต้องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างลักษณะสังคมญี่ปุ่น

                       กับสังคมไทยแล้ว พบว่าการรวมกลุ่มของทั้งคนญี่ปุ่นและคนไทยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อก่อให้เกิด
                       ประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่มีข้อแตกต่างเกี่ยวกับวิธีคิดในการรวมกลุ่ม กล่าวคือ


                               สังคมญี่ปุ่นมีวิธีคิดในการรวมกลุ่มที่เกิดจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่
                       มีการปลูกฝังทางศาสนาที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นให้อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและให้ความสำคัญต่อ
                       กลุ่มมากกว่าปัจเจกบุคคล รวมทั้งระบบสังคมของญี่ปุ่นเป็นระบบที่ส่งเสริมกลุ่ม ความสามัคคี และความ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35