Page 141 - kpiebook67039
P. 141
140 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
ตารางที่ 7.1 เปรียบเทียบเป้าหมายของกลยุทธ์การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองระหว่างประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย
พรรคการเมือง เพื่อเสริมทักษะการเป็นผู้น�า เพื่อคัดสรรสมาชิกเข้าสู่ เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกับ
ในระบอบประชาธิปไตยให้ พรรคการเมือง ผู้น�าเยาวชน
กับผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง
สถาบัน ไม่มีการน�าเกมไปใช้ใน สถาบันการศึกษาไม่ได้น�า มีการใช้ทั้งในโรงเรียนและ
การศึกษา โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เกมไปใช้โดยตรง พบเฉพาะ ในมหาวิทยาลัยโดยบุคลากร
กรณีเจ้าหน้าที่ LY น�าไปใช้ ภายในเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ
ในมหาวิทยาลัย หน้าที่พลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย
องค์กรภาค เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�า เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�า เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�า
ประชาสังคม เยาวชน เยาวชน และสร้างความ เยาวชน และสร้างความ
เข้าใจเรื่องสังคมเปิดกว้าง เข้าใจเรื่องความเป็นพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย
7.3 สังเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็ นพลเมือง
วัตถุประสงค์ที่สองของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบการจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง คณะผู้วิจัยตอบวัตถุประสงค์นี้โดยการสังเคราะห์ผลการศึกษา
อันน�ามาสู่การพัฒนากลยุทธ์ 3x3 ในฐานะกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็นพลเมือง
ในส่วนนี้คณะผู้วิจัยน�าเสนอแนวทางการวางแผนอย่างเป็นระบบและมีล�าดับขั้นตอน
ในการน�าเกมไปใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองซึ่งรวมไปถึง
การเสริมพลังพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย การน�าเสนอแบ่งออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับ
ประกอบไปด้วย 3 มิติส�าคัญ ดังนี้