Page 143 - kpiebook67039
P. 143
142 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
มิติที่สาม การบริหารจัดการเครือข่ายเพื่อให้เครือข่ายมีความต่อเนื่องยั่งยืน ไม่ใช่
การรวมตัวเฉพาะกิจ เป็นเรื่องที่ส�าคัญเพราะพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในเครือข่าย
สามารถส่งผลต่อทิศทางการท�างาน นอกจากนี้ประเภทองค์กรในเครือข่ายก็มีผลต่อพลวัตดังกล่าว
เช่น หากเครือข่ายมีองค์กรภาครัฐเป็นสมาชิกก็อาจจะช่วยให้เครือข่ายมีจุดยึดโยงกับทรัพยากร
ของรัฐซึ่งอาจช่วยรักษาเครือข่ายเอาไว้ได้
ในระดับสังคม
กลยุทธ์การน�าเกมไปใช้ไม่ได้เกิดในสุญญากาศหากแต่เกิดขึ้นภายใต้บริบททางสังคม
การเมืองแบบหนึ่งที่อาจจ�ากัดหรือส่งเสริมกลยุทธ์บางรูปแบบ
มิติแรก คือ การที่ผู้มีอ�านาจตัดสินใจในระดับนโยบายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการน�า
เกมไปใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลเกมไปยังกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น และมีความชัดเจน
ในเรื่องแนวทางการน�าเกมไปใช้
มิติที่สอง ปทัสถานทางสังคมส่งผลต่อการผลิตชุดความรู้และการถ่ายทอดความรู้
ภายในสังคม ดังนั้น สังคมจึงมีความคาดหวังต่อการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ชุดหนึ่ง ๆ
กลยุทธ์การน�าเกมไปใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอาจท้าทายความคาดหวังที่ด�ารงอยู่ก่อน
ในสังคม ดังนั้น กลไกเกมจะต้องกระตุ้นให้เกิดการฉุกคิด อภิปรายถกเถียง และเปิดกว้างต่อ
ความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย
มิติที่สาม การสนับสนุนโดยสังคมเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด จุดนี้เป็นเรื่อง
ของความสามารถในการท�าให้สังคมเชื่อได้ว่าเกมที่น�ามาใช้มีประโยชน์ และยอมรับว่าเกม
เป็นมากกว่าเกม กล่าวคือ เกมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคม
อย่างไรก็ตาม เป้าประสงค์นี้อาจจะใหญ่กว่าศักยภาพของทีม องค์กร หรือเครือข่าย และต้องระดม
ทรัพยากรจ�านวนมาก ดังนั้น หากจะวางแผนในระดับนี้ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบมิติอื่น ๆ
ที่กล่าวมาว่าเพียงพอหรือไม่ในการขยับประเด็นในระดับสังคม