Page 145 - kpiebook67039
P. 145
144 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
7.4 ถอดบทเรียนและตัวอย่างที่ดีในการจัดกระบวนการ
เกมเพื่อส่งเสริมความเป็ นพลเมือง
ข้อค้นพบข้างต้นแสดงให้เห็นความส�าคัญของเครือข่ายในการน�าเกมไปใช้โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเครือข่ายผู้น�าเยาวชน ดังนั้น บทเรียนส�าคัญจึงเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การสร้างและบริหาร
เครือข่ายเพื่อการน�าเกมไปใช้ขับเคลื่อนสังคม และส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง การอภิปราย
ในส่วนนี้น�าเสนอกลยุทธ์การสร้างและบริหารเครือข่ายเพื่อการน�าเกมไปใช้ส่งเสริมความเป็นพลเมือง
โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การริเริ่มเครือข่าย การขยายเครือข่าย และการรักษาเครือข่าย
ให้ยั่งยืน ทั้งสามขั้นตอนควรถูกพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเดียวกันที่มีปฏิสัมพันธ์
กันอย่างมีพลวัต
การริเริ่มเครือข่ายต้องเน้นที่การออกแบบเกมร่วมกันเพื่อเรียนรู้เป้าหมาย และแนวทาง
การท�างานซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะความเป็นพลเมือง นอกจากนี้
ยังต้องพิจารณาในเรื่องการสร้างความคุ้นเคยระหว่างทีมงานของแต่ละองค์กรในการท�างานร่วมกัน
เพื่อให้เกิดการวางแผน และจัดกิจกรรมเกมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร และความเชี่ยวชาญของ
สมาชิกในเครือข่าย
ต่อมา การขยายเครือข่ายมีประเด็นหลัก คือ การคัดเลือกสมาชิกใหม่ที่มาจากหลาย
ภาคส่วน และมีแผนในการใช้เกมในกิจกรรมต่าง ๆ การขยายเครือข่ายควรจะต้องมาพร้อมกับ
การจัดฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกมอย่างสม�่าเสมอเพื่อให้เกิดการสื่อสารในเรื่องเนื้อหาสาระ
ของเกมที่มีเอกภาพ ประเด็นนี้ส�าคัญอย่างยิ่ง เพราะการใช้เกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
ที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยผู้น�าการเล่นเกมที่สามารถสื่อสารเนื้อหาที่อยู่ในกลไกเกมให้กับผู้เล่น
เพื่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ในเรื่องความเป็นพลเมือง
เมื่อมีเครือข่ายแล้ว โจทย์ใหญ่ที่ตามมา คือ การรักษาเครือข่ายให้ยั่งยืนซึ่งท�าได้โดย
การแลกเปลี่ยนข้อมูล และสื่อสารกันอย่างสม�่าเสมอระหว่างสมาชิกในเครือข่าย ตลอดจน
มีการถอดบทเรียนร่วมกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องความส�าเร็จและความท้าทาย
ในการน�าเกมไปใช้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง