Page 140 - kpiebook67039
P. 140
139
7.2 สรุปเป้ าหมายของกลยุทธ์การน�าเกม
Sim Democracy ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็ นพลเมือง
วัตถุประสงค์ของการท�าวิจัยในครั้งนี้ คือ การศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์การจัด
กระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยตัวแสดง
สามกลุ่ม ได้แก่ พรรคการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา และสังเคราะห์
ตัวแบบการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง ดังนั้น ในส่วนนี้คณะผู้วิจัยเริ่มต้น
จากการตอบวัตถุประสงค์แรก การศึกษาในครั้งนี้พบว่าเป้าหมายของกลยุทธ์การน�าเกม
Sim Democracy ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในแต่ละประเทศมีลักษณะ ดังนี้
ในกรณีของประเทศมาเลเซีย พรรคการเมืองน�าเกม Sim Democracy ไปใช้เพื่อเสริม
ทักษะการเป็นผู้น�าในระบอบประชาธิปไตยให้กับผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่มีการน�าไปใช้
เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในเชิงบริบทของประเทศ
มาเลเซีย ส่วนภาคประชาสังคมน�าเกมไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน
ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ พรรคการเมืองน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อคัดสรรสมาชิกเข้าสู่พรรคการเมือง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
โดยมีเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มเยาวชน ส�าหรับการน�าเกมไปใช้ในสถาบันการศึกษาพบว่าสถาบัน
การศึกษาไม่ได้น�าเกมไปใช้โดยตรง หากแต่มีเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ LY น�าเกมไปใช้ในมหาวิทยาลัย
ผ่านสมาชิกในเครือข่าย ส่วนองค์กรภาคประชาสังคมน�าเกมไปใช้โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างเครือข่าย
ผู้น�าเยาวชน และสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมเปิดกว้าง
ในกรณีของประเทศไทย พรรคการเมืองน�าเกมไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกับ
ผู้น�าเยาวชนและฝึกอบรมบุคลากรของพรรค ในขณะที่การน�าเกมไปใช้ในสถาบันการศึกษา
พบอย่างแพร่หลาย และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี กล่าวคือ มีการใช้ทั้งในโรงเรียนและ
ในมหาวิทยาลัยโดยบุคลากรภายในเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ส�าหรับองค์กรภาคประชาสังคม เกมถูกน�าไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน และสร้างความเข้าใจ
เรื่องความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย