Page 136 - kpiebook67039
P. 136
135
บทที่ 7
อภิปรายและสรุป
ผลการศึกษา
7.1 อภิปรายผลการศึกษา
การวิจัยในครั้งนี้มุ่งตอบค�าถามเรื่องกลยุทธ์การน�าเกม Sim Democracy ไปสู่การปฏิบัติ
โดยพรรคการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์
และไทย และเรื่องปัจจัยเชิงบริบทที่ส่งผลต่อการพัฒนา และจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็นพลเมือง ส�าหรับการตอบค�าถามแรก คณะผู้วิจัยน�าเสนอข้อค้นพบ ดังนี้
การวางกลยุทธ์การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยพรรคการเมือง องค์กรภาค
ประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัย
ภายในและภายนอก ปัจจัยภายในที่ส�าคัญประกอบไปด้วย ประการแรก ปัจจัยด้านพันธกิจองค์กร
การศึกษาพบว่ากลยุทธ์การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ถูกจัดวางให้สอดคล้องกับพันธกิจ
องค์กร ส�าหรับพรรคการเมืองสิ่งที่เห็นเด่นชัดจากกรณีของประเทศมาเลเซียและประเทศไทย
คือพรรคการเมืองใช้เกม Sim Democracy ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรพรรคและ
สมาชิกพรรค สะท้อนให้เห็นความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองที่งานวิจัยนี้ศึกษาในระดับหนึ่ง
โดยพิจารณาจากที่มีการจัดองค์กรพรรคอย่างเป็นระบบ ได้แก่ พรรค People’s Justice Party
ในมาเลเซีย และพรรคประชาธิปัตย์ในประเทศไทย แต่ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจาก
พรรคการเมืองไม่มีความเป็นสถาบัน และยึดติดกับตัวบุคคล ท�าให้พรรค Liberal Party เลือกที่จะ
ใช้ปีกเยาวชนช่วยสรรหาสมาชิกเข้าพรรค มากกว่าที่จะลงทุนกับการฝึกอบรมบุคลากรและผู้สมัคร
ของพรรคซึ่งอาจย้ายพรรคได้เสมอ องค์กรภาคประชาสังคมในทั้งสามประเทศต่างก็มีพันธกิจ
เกี่ยวกับการเสริมพลังเยาวชนและทักษะความเป็นพลเมือง แต่มีขอบข่ายการท�างานต่างกันไป