Page 134 - kpiebook67039
P. 134
133
ประการที่สอง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์และองค์เครือข่ายน�าเกม Sim Democracy
ไปใช้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะพบว่าประเด็นเรื่อง
ความเป็นพลเมืองที่น�าเสนอผ่านเกม Sim Democracy จะเป็นทั้งเรื่องกระบวนการที่เปิดให้
ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตย
และการต่อรองเจรจาในกระบวนการจัดสรรทรัพยากรส่วนรวม เพื่อมุ่งเน้นให้เยาวชนเหล่านี้
เข้าใจการท�างานของระบบการเมือง และเข้าใจแนวทางในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
6.12 สรุปการวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการ
เกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็ นพลเมืองในกรณี
ประเทศไทย
จากการวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยพบว่าการใช้เกม Sim Democracy ในประเทศไทย
นั้นได้รับความร่วมมือจากองค์กรทั้งภาครัฐ พรรคการเมือง และภาคประชาสังคม โดยตัวแสดงหลัก
ในการน�าเกมไปใช้คือมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย โดยกลุ่มเป้าหมายของการใช้เกมแบ่งออก
เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ (1) บุคลากรทางการเมือง โดยพรรคประชาธิปไตยใช้เกมเป็นเครื่องมือ
หนึ่งในการพัฒนาบุคลากรของพรรค ได้แก่ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครหน้าใหม่ และนักศึกษา
ฝึกงานในโครงการยุวประชาธิปัตย์ เพื่อให้บุคลากรของพรรคเข้าใจระบบการเมืองและกระบวนการ
ท�างานในระบอบประชาธิปไตย และ (2) เด็กและเยาวชน โดยเครือข่ายของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน
ประเทศไทย ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ส�านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ส�านักงาน กกต.)
และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้น�าเกมเข้าไปใช้ในสถานศึกษา
กระทั่งมีการจัดการแข่งขันการเล่นเกมในระดับภูมิภาค และระดับประเทศขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อใช้เกมเป็นสื่อกลางในการให้การศึกษาทางการเมือง และการหล่อหลอมกล่อมเกลาวัฒนธรรม
และคุณค่าประชาธิปไตยให้แก่เด็กและเยาวชน อนึ่งควรต้องกล่าวด้วยว่าสถานะและต�าแหน่งแห่งที่
ขององค์กรภาคีเครือข่ายเหล่านี้น่าจะมีผลอย่างยิ่งในการท�าให้เกม Sim Democracy เป็นที่ยอมรับ
ในสังคมไทย แม้กระทั่งในห้วงเวลาที่สังคมไทยอยู่ในระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่การด�าเนินกิจกรรมผ่านเกมก็ยังคงได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นได้โดยไม่ถูกขัดขวางหรือหวาดระแวง