Page 129 - kpiebook67039
P. 129

128     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         12 กรกฎาคม 2566) และมิติของถ่ายทอดความรู้และทักษะในการจัดกระบวนการเกม ซึ่งพบว่า

                         มูลนิธิฯ มีบทบาทเป็นผู้ฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกมให้กับองค์กรเครือข่ายทั้งหมด  นอกจากนี้
                         ควรอภิปรายด้วยว่าการที่มูลนิธิฯ สร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษาที่ท�าหน้าที่ผลิตครู

                         อย่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้นท�าให้เครือข่ายของมูลนิธิฯ
                         มีความสามารถในการจัดกระบวนการเกมที่ดีขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ เพราะนักศึกษาและอาจารย์

                         ในสถาบันดังกล่าว มีความรู้และทักษะในการจัดกระบวนการ และการถ่ายทอดความรู้มากกว่า
                         บุคคลทั่วไปอย่างมาก พวกเขามีบทบาทพลิกแพลงและปรับประยุกต์กระบวนการเล่นเกม

                         ให้สอดคล้องกับผู้เล่นแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม เช่น หากเป็นเด็กเล็ก จ�าเป็นต้องมีการเล่น
                         เกมอื่นก่อน เพื่อปูทางสู่การเล่นเกมที่ซับซ้อนมากขึ้นในล�าดับถัดไป หรือการเลือกปรับภาษา

                         ให้เข้ากับประชาชนทั่วไป ตลอดจนการออกแบบกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรมของผู้เล่นก่อนที่
                         จะเริ่มเล่นเกมจริง (นิสิต SWU, สัมภาษณ์, 27 เมษายน 2566)


                                 ประการที่สอง การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับคุณค่าประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง

                         ของระบอบประชาธิปไตย จากข้อมูลพบว่าการถ่ายทอดความรู้ชนิดนี้สามารถท�าได้จ�ากัดกว่า
                         การถ่ายทอดความรู้ในประเด็นแรก เนื่องจากเป็นความรู้ความเข้าใจที่ต้องอาศัยพื้นฐานและ

                         ประสบการณ์ของผู้รับการถ่ายทอดด้วยเป็นส�าคัญ อย่างไรก็ตาม การที่มูลนิธิฯ มีพรรคการเมือง
                         และบุคลากรทางการศึกษาร่วมเป็นเครือข่ายก็มีส่วนช่วยให้กระบวนการเล่นเกมสามารถส่งต่อ

                         ความรู้ชนิดนี้สู่กลุ่มเป้าหมายได้ดี อนึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่าความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ
                         เกมและเกี่ยวกับคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยของผู้น�าในการเล่นเกมมีผลอย่างยิ่งต่อศักยภาพ

                         ในการถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายผ่านการเล่นเกม




                                 ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ


                                 มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยมีการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการ

                         และการเล่นเกมแบบใหม่ ๆ ให้แก่บุคลากรอยู่เสมอ ทั้งที่ด�าเนินการเอง และร่วมกับภาคีเครือข่าย
                         ภายนอก นอกจากนี้บุคลากรของมูลนิธิฯ ยังมีโอกาสร่วมกิจกรรม/ร่วมเป็นผู้น�าเล่นเกมในกิจกรรม
                         ที่จัดโดยภาคีเครือข่ายอยู่เสมอ ดังนั้น บุคลากรของมูลนิธิฯ จึงมีโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะและ

                         ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการผ่านการลงมือปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร

                         ของภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน ท�าให้บุคลากรของมูลนิธิฯ สามารถพลิกแพลง
                         และประยุกต์ใช้เกมเพื่อตอบโจทย์ของกิจกรรมได้อย่างช�านาญ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์
                         จะสังเกตเห็นว่าผู้น�าการเล่นเกมที่เป็นบุคลากรของมูลนิธิฯ จะให้ความส�าคัญกับทุกขั้นตอน

                         ของการเล่นเกม (เตรียมความพร้อมก่อนเล่น, ระหว่างเล่น และสรุปบทเรียนหลังเล่นเกม) ขณะที่

                         ผู้น�าการเล่นเกมที่มาจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายนั้น บางครั้งจะไม่ได้ให้ความส�าคัญกับทุกขั้นตอน
                         แต่อาจจะเน้นเฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเป็นพิเศษ
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134