Page 124 - kpiebook67039
P. 124

123







                                      การถ่ายทอดองค์ความรู้


                                      ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่าในระหว่างเล่นเกมอาจมีการถ่ายทอดความรู้และคุณค่า

                             ที่เป็นนามธรรมอันสอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย เช่น หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
                             การท�างานของระบบการเมือง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประชาชน และการโน้มน้าว/

                             การสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เป็นต้น โดยประสิทธิภาพ หรือประเด็นที่จะถูกเน้นย�้า
                             จะขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้น�าเล่นเกม รวมถึงความสามารถในปรับประยุกต์

                             ชุดคุณค่านามธรรมเหล่านั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อการเข้าใจของผู้เล่นที่มีความแตกต่าง
                             หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงสุดท้ายของการเล่นเกมจะมีการสรุปบทเรียนจากการเล่นเกม

                             ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาส�าคัญที่ผู้น�าเล่นเกมจะสามารถถ่ายทอด หรือบอกใบ้ให้ผู้ร่วมกิจกรรม
                             มองเห็นประเด็นส�าคัญต่าง ๆ ของเกมที่เชื่อมโยงกับระบบการเมืองได้ (ตัวแทนพรรค DP 1,

                             สัมภาษณ์, 4 พฤษภาคม 2566, ตัวแทนพรรค DP 2 ,สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2566 และ
                             ตัวแทนพรรค DP 3, สัมภาษณ์, 12 กรกฎาคม 2566)


                                      มีข้อสังเกตที่น่าสนใจส�าหรับประสบการณ์ของประเทศไทย คือ หลังรัฐประหารปี 2557

                             ประเทศไทยภายใต้รัฐบาลของคณะรัฐประหารเข้มงวดในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
                             และการแสดงออกทางการเมืองของพลเมืองในประเทศค่อนข้างมาก กระทั่งมีรายงานผู้ถูกจับกุม

                             และถูกด�าเนินคดีจ�านวนมาก แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่ากระบวนการเล่นเกม หรือกระบวน
                             เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยที่ด�าเนินการผ่านเกม Sim Democracy

                             ซึ่งมีชื่อเกมบ่งชี้ชัดเจนว่าเกี่ยวกับการเมืองและระบอบประชาธิปไตย กลับไม่ได้ถูกจับตามอง หรือ
                             ถูกสั่งให้งดเว้นเลย (ตัวแทนพรรค DP 1, สัมภาษณ์, 4 พฤษภาคม 2566) คณะผู้วิจัยไม่แน่ใจว่า

                             อะไรคือปัจจัยที่ท�าให้เกม Sim Democracy รอดพ้นจากความหวาดระแวงของผู้ปกครองรัฐไทย
                             แต่มีความเป็นไปได้ที่ลักษณะของเกมที่เน้นสร้างความเข้าในกระบวนการท�างานการเมืองผ่าน

                             ระบบการเมืองที่เป็นทางการ (ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกระบบการเมือง
                             เช่น การชุมนุมประท้วง) และต�าแหน่งแห่งที่ทางอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ และลักษณะ

                             ขององค์กรที่พรรคประชาธิปัตย์เลือกมาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายอาจมีส่วนส�าคัญที่ท�าให้การน�าเกม
                             ไปใช้ไม่ถูกมองอย่างหวาดระแวง





                                      ประสบการณ์ในการจัดกระบวนการ


                                      โดยธรรมชาติของเกม Sim Democracy นั้นแม้จะเป็นเกมที่มีกติกาในการเล่นที่ซับซ้อน
                             ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นเกมที่มีลักษณะเปิดกว้างเป็นปลายเปิดเช่นกัน นั่นส่งผลให้การเล่นเกม

                             แต่ละครั้งอาจจะได้ผลต่างกันไปตามองค์ประกอบของการเล่น เช่น ผู้น�ากระบวนการและผู้เล่น
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129