Page 123 - kpiebook67039
P. 123
122 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
วัตถุประสงค์ของเกมยังสอดคล้องกับอุดมการณ์ และคุณค่าประชาธิปไตยที่พรรคประชาธิปัตย์
ยึดถือ นั่นคือ การส่งเสริมให้พลเมืองมีความตื่นรู้และตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้าใจ
ระบบการเมือง และสามารถร่วมตรวจสอบการท�างานของรัฐได้
ผู้น�าทีมในองค์กร (Team leadership)
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารของพรรคให้พื้นที่กับบุคลากรของพรรค
และภาคีเครือข่ายในการออกแบบโครงการและเลือกใช้เครื่องมือตามที่เห็นสมควร (ตัวแทน
พรรค DP 1, สัมภาษณ์, 4 พฤษภาคม 2566, ตัวแทนพรรค DP 2 ,สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2566
และตัวแทนพรรค DP 3, สัมภาษณ์, 12 กรกฎาคม 2566) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าผู้บริหารองค์กร
มิได้สนับสนุนโดยตรง แต่ก็มิได้ขัดข้องกับการใช้เกม Sim Democracy หรือนวัตกรรม/กลยุทธ์
อื่น ๆ เป็นเครื่องมือในการท�ากิจกรรม
6.5.3 การประกอบการเชิงความรู้
ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าบุคลากรของพรรคและองค์กรภาคีเครือข่ายเคยผ่าน
การเล่นเกม Sim Democracy และบอร์ดเกมชนิดอื่นมาแล้ว ดังนั้น จึงมีความช�านาญและ
ความเข้าใจกติกาของเกมเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ลักษณะของเกม Sim Democracy
เป็นเกมที่มีคุณค่าและองค์ความรู้แฝงอยู่ด้วย ดังนั้น ผลลัพธ์ของการเล่นเกมจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับ
ความช�านาญและความเข้าใจในกติกาของเกมเพียงอย่างเดียว หากยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับระบบการเมือง และการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนด้วย ความรู้
อย่างหลังนี้มีผลต่อการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Civic education ให้กับผู้เล่นมากกว่า
ความรู้อย่างแรก และเป็นความรู้ที่มิได้บรรจุอยู่ในคู่มือเล่นเกม ด้วยเหตุนี้ความเชี่ยวชาญ
ของบุคลากรของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีประสบการณ์ในการท�างานทางการเมือง และองค์กร
ภาคีเครือข่าย (กลุ่มแรงคิดต้นกล้าประชาธิปไตย) ซึ่งมีประสบการณ์ในการท�างานร่วมกับหน่วยงาน
ภาครัฐและพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงกลายเป็นจุดแข็งส�าคัญในการน�าเกมไปใช้
ขับเคลื่อนวาระขององค์กร โดยสามารถสอดแทรกองค์ความรู้และคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่ผู้เล่นเกม
ได้ตลอดการเล่นเกมหรือในขั้นตอนของการสรุปบทเรียนจากการเล่นเกม