Page 119 - kpiebook67039
P. 119

118     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 ในด้านภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ ประเทศไทยมีขนาด 513,120 ตารางกิโลเมตร

                         มีประชากรจ�านวน 66.09 ล้านคน จากข้อมูลในปี ค.ศ. 2022 ระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่
                         ของประเทศอยู่เหนือเส้นความยากจน หรือจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นกลางระดับล่าง

                         และมีอัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 93.8 (ส�านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, 2565)






             6.2 ความเป็ นสถาบันและระบบพรรคการเมือง



                                 ด้วยกรอบกติกาของรัฐธรรมนูญ 2560 ท�าให้ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบพรรคการเมือง
                         แบบหลายพรรค ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2019 และ 2023 มีพรรคการเมืองที่สามารถส่งตัวแทน

                         เข้าสู่รัฐสภาได้มากถึง 27 พรรค และ 18  พรรค ตามล�าดับ และไม่มีพรรคใดสามารถจัดตั้ง
                         รัฐบาลได้โดยล�าพัง (Workpointtoday, 2562 และ The Standard, 2566) ในมุมมองของ

                         ความเป็นสถาบันการเมือง พรรคการเมืองของประเทศไทยยังไม่ได้มีความเป็นสถาบันทางการเมือง
                         มากนัก อันเนื่องมาจากความผันผวนและความไม่มั่นคงทางการเมืองของประเทศไทย กล่าวคือ

                         ประเทศไทยเกิดรัฐประหารขึ้นบ่อยครั้ง และรัฐประหารแต่ละครั้งน�ามาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
                         กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก�าหนดโครงสร้างทางการเมือง เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายพรรคการเมือง

                         และระบบเลือกตั้ง เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน และความไม่ยั่งยืนเหล่านี้
                         เช่น การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งเกือบทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

                         หรือการยุบพรรคการเมือง ส่งผลกระทบต่อการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของสถาบันการเมือง
                         ภายในรัฐไทยอย่างมาก ท�าให้พรรคการเมืองประสบความยากล�าบากในการสร้างและรักษา

                         ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับผู้เลือกตั้ง ยากที่จะจัดการองค์กรให้เป็นระบบและขยายตัวอย่างมั่นคง
                         และยากที่จะสามารถแสดงบทบาทเป็นตัวละครหลักในการแก้ไขปัญหาหรือร่วมก�าหนดทิศทาง

                         ให้กับสังคม (สิริพรรณ, 2566) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเปิดโอกาสให้กลุ่มชนชั้นน�าทั้งในระดับชาติ
                         และระดับท้องถิ่นกลายเป็นตัวละครที่มีบทบาทส�าคัญในการก�าหนดทิศทางทางการเมืองและ

                         การจัดสรรทรัพยากรของส่วนรวม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กระบวนการตัดสินใจทั้งหลายไม่ได้เกิดขึ้น
                         ในระบบพรรคการเมือง แต่เกิดขึ้นในสถาบันหรือหน่วยทางการเมืองอื่น เช่น มุ้งการเมือง หรือ

                         กลุ่มผลประโยชน์ และระบบราชการมากกว่า


                                 แม้ว่าความผันผวนทางการเมืองจะส่งผลให้พรรคการเมืองของไทยถูกยุบเลิก
                         และถูกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง จนท�าให้พรรคการเมืองขาดความต่อเนื่องในการสร้างเครือข่าย

                         การท�างาน แต่ภูมิหลังของบุคลากรภายในพรรคก็มีส่วนส�าคัญในการเป็นห่วงโซ่เชื่อมต่อระหว่าง
                         พรรคกับหน่วยงานภาคประชาสังคม หรือภาคเอกชนที่ตนคุ้นเคย ดังนั้น เราจึงเห็นพรรคการเมือง

                         อย่างพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคก้าวไกลที่มีบทบาทในการน�าเกมไปใช้ขับเคลื่อนเสริมสร้าง
                         ทักษะความเป็นพลเมืองทั้งในสถาบันการศึกษาและในพรรคของตนด้วย
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124