Page 121 - kpiebook67039
P. 121
120 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่เริ่มต้นการเป็นกลุ่ม
แสดงละคร ก่อนที่ขยายพันธกิจให้กว้างขึ้น มุ่งสร้างเครือข่ายกับเด็กและเยาวชนเพื่อเผยแพร่
ความรู้ด้านประชาธิปไตย การแก้ไขความขัดแย้ง และสร้างผู้ประกอบการทางสังคม โดยเน้น
การใช้กระบวนการสร้างสรรค์และศิลปะการแสดงเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจของมูลนิธิ
ข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
การศึกษาข้อมูลภูมิหลังของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ข้างต้นชี้ให้เห็นประเด็นส�าคัญ
ที่จะต้องน�ามาพิจารณาในการวิจัยครั้งนี้จ�านวน 2 ประเด็นดังต่อไปนี้
ประการแรก จากการศึกษาภูมิหลังด้านการเมืองของประเทศไทย พบว่า Sim Democracy
ได้รับการออกแบบพัฒนาในประเทศไทยในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญความขัดแย้งทางการเมือง
อย่างแหลมคมระหว่างมวลชนทางการเมืองต่างอุดมการณ์กัน และบางช่วงถูกปกครองโดยรัฐบาล
ของคณะรัฐประหาร ดังนั้น จึงน่าสนใจที่จะพิจารณาว่าบริบททางการเมืองเช่นนี้ จะมีผลอย่างไรบ้าง
ต่อความสามารถในการน�าเกมที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมืองและระบอบประชาธิปไตยไปใช้
ประการที่สอง ภาคประชาสังคมด้านการศึกษาของไทยให้ความส�าคัญกับการแสวงหา
และน�านวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในวงการการศึกษา ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า ภายใต้บริทบททาง
การเมืองตามข้อสังเกตประการที่หนึ่งนั้น ภาคประชาสังคมจะสามารถมีบทบาทผลักดันการใช้
เกมเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง
6.5 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็ นพลเมืองโดยพรรคการเมือง
6.5.1 ภาพรวมกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองโดยพรรคประชาธิปัตย์
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรของพรรคประชาธิปัตย์ และภาคี
เครือข่ายของพรรค และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่ากลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม Sim
Democracy เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองโดยพรรคการเมืองนั้นด�าเนินการผ่าน 2 แนวทาง
คือ 1) ผ่านภาคีเครือข่ายและคณะท�างานที่รับผิดชอบนโยบายด้านการศึกษาของพรรค และ
2) ผ่านภาคีเครือข่ายและคณะท�างานเพื่อพัฒนาบุคลากรของพรรค