Page 125 - kpiebook67039
P. 125

124     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า องค์กรภาคีเครือข่ายเป็นผู้ท�าหน้าที่ในการจัดกระบวนการ

                         และเป็นผู้น�าเล่นเกมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงมีบุคลากรของพรรคประชาธิปัตย์เพียงบางคนเท่านั้น
                         ที่มีบทบาทเป็นผู้จัดกระบวนการหรือเป็นผู้น�าในการเล่นเกมด้วยตนเอง ส�าหรับบุคลากรของ

                         องค์กรภาคีเครือข่ายที่ท�าหน้าที่ในการจัดกระบวนการ และเป็นผู้น�าเล่นเกมนั้นได้รับการอบรม/
                         ฝึกสอนทักษะในการจัดกระบวนการมาจากมูลนิธิฟรีดริช เนามันประเทศไทย โดยผู้ให้สัมภาษณ์

                         อธิบายเพิ่มเติมว่าทักษะเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นเมื่อได้ทดลองปฏิบัติจริง (ตัวแทนพรรค DP 1, สัมภาษณ์,
                         4 พฤษภาคม 2566, ตัวแทนพรรค DP 2 ,สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2566 และตัวแทนพรรค DP 3,

                         สัมภาษณ์, 12 กรกฎาคม 2566)




                                 การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ


                                 ด้วยเหตุที่บุคลากรของพรรคมิได้มีบทบาทหลักในการน�าเล่นเกมและการจัดกระบวนการ
                         จึงไม่ได้ให้ความส�าคัญกับการเพิ่มพูนทักษะและการแสวงหาเครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ

                         มากนัก อย่างไรก็ตาม ด้วยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่ใกล้ชิดและร่วมงานกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน

                         ประเทศไทย จึงท�าให้บุคลากรของพรรคที่เกี่ยวข้องกับการน�าเกมไปใช้ ได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรม
                         การเรียนรู้และเครื่องมือจัดกระบวนการใหม่ ๆ ที่ถ่ายทอดจากมูลนิธิฯ





                     6.5.4 ขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ



                                 การวางแผนการน�าเกมสู่การปฏิบัติ


                                 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าประสบการณ์ของประเทศไทยคล้ายกับประสบการณ์
                         ของประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวคือ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีการวางแผนอย่างเป็นทางการในเรื่อง

                         การน�าเกมไปใช้ หากแต่การน�าเกมไปใช้เป็นทางเลือกของบุคลากรที่รับผิดชอบงานบางด้าน
                         ในพรรค ดังนั้น พรรคจึงไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ไม่ได้มีการระบุ

                         ทรัพยากรที่จ�าเป็นต้องใช้ทั้งในเรื่องงบประมาณและบุคลากร และไม่ได้มีการประเมินผลการน�า
                         เกมไปใช้ ดังนั้นการน�าเกมไปใช้จึงอยู่ภายใต้ดุลพินิจของบุคลากร และภาคีเครือข่ายเพื่อด�าเนิน

                         กิจกรรมเป็นรายครั้งมากกว่า




                                 การบริหารจัดการทรัพยากรภายในโครงการ


                                 ดังที่กล่าวมาแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีแผนการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้

                         โดยเฉพาะ ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรจึงเกิดขึ้นเป็นครั้ง ๆ ไป และทรัพยากรที่ใช้มักเกิด
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130