Page 120 - kpiebook67039
P. 120

119







                                      นอกจากนี้ยังควรกล่าวด้วยว่า พรรคการเมืองของไทยมีสายสัมพันธ์และท�างานร่วมกับ

                             สภาเด็กและเยาวชน (สดย.) ที่ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2008 ตามพระราชบัญญัติ
                             ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นกลไกส�าคัญในการพัฒนา

                             แก้ไขปัญหา และร่วมก�าหนดนโยบายด้านเด็กและเยาวชน รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการมี
                             ส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมีการวางโครงข่ายจัดตั้ง

                             สภาเด็กและเยาวชนใน 5 ระดับ ได้แก่ ระดับต�าบล ระดับเทศบาล ระดับอ�าเภอ ระดับเขต
                             ระดับจังหวัด สดย. กรุงเทพมหานคร และระดับชาติ รวมทั้งสิ้น 8,780 แห่ง (Amnesty

                             International Thailand, 2565) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นด้านการศึกษาและประเด็น
                             เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนด้วย






                  6.3 บริบทของระบบการศึกษาโดยทั่วไป


                                        เมื่อพิจารณาในเชิงโครงสร้างแล้วระบบการศึกษาของประเทศไทยยังมีลักษณะรวมศูนย์

                             ค่อนข้างมาก และยังถูกใช้เป็นเครื่องมือส�าคัญในการเสริมสร้างความเป็นเอกภาพทางอุดมการณ์
                             และค่านิยมของรัฐไทยมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบและระเบียบ

                             การเมืองครั้งส�าคัญในประเทศไทย รัฐไทยมักมีนโยบายเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ
                             เพื่อให้มีเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับคุณค่าที่รัฐไทยต้องการปลูกฝัง

                             แก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนเติบโตมาเป็นพลเมืองแบบที่รัฐปรารถนา (ภิญญพันธุ์, 2565; นิธิ, 2557)
                             อย่างไรก็ตาม ในระดับปฏิบัติการ จะพบว่ารัฐไทยไม่สามารถผูกขาดหรือครอบง�าระบบการศึกษา

                             ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีความพยายามของภาคประชาสังคมด้านการศึกษา และหน่วยงาน
                             ภาครัฐอื่นที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น สถาบันอุดมศึกษา ที่จะเข้ามาส่งเสริมค่านิยม

                             เชิงประชาธิปไตย และนวัตกรรมด้านการศึกษาผ่านกิจกรรมในรูปแบบเครือข่ายการฝึกอบรมต่าง ๆ
                             ร่วมกับครูผู้สอนและโรงเรียน จึงส่งผลให้นวัตกรรมการศึกษาและค่านิยมที่ไม่ได้ถูกก�าหนดโดยรัฐ

                             สามารถล่วงล�้าเข้ามาในระบบการศึกษาของไทยได้





                  6.4 องค์กรภาคประชาสังคมด้านการศึกษา



                             Teach For Thailand


                                      มูลนิธิ Teach For Thailand เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ท�างานด้านการศึกษา
                             โดยการสร้างเครือข่ายครูผู้น�าการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านการอบรมจากมูลนิธิเข้าไปท�างานกับโรงเรียน

                             และชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อให้ครูผู้น�าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เข้าไปเสริมศักยภาพ
                             ของโรงเรียนและชุมชน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล�้าทางการศึกษาในประเทศไทย
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125