Page 115 - kpiebook67039
P. 115

114     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy







             5.12 สรุปการวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม


             เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็ นพลเมืองในกรณีประเทศ

             ฟิลิปปิ นส์



                                 จากการวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยไม่พบการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยบุคลากร

                         ของสถาบันการศึกษาในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์โดยตรง แต่เกมถูกใช้โดยพรรคการเมือง
                         ผ่านกลไกปีกเยาวชนของพรรคซึ่งในที่นี้ คือ LY กลยุทธ์ที่ LY ใช้ คือการน�าเกมมาเป็นส่วนหนึ่ง

                         ในกิจกรรมสรรหาสมาชิกพรรคและสร้างเครือข่ายเยาวชนซึ่งมาจากหลายสถาบันการศึกษา
                         ในแง่นี้ LY จึงไม่ได้มีการติดต่อโดยมุ่งเป้าไปที่สถานศึกษาแต่ละแห่ง นอกจากนี้ LY ไม่ได้น�าเกม

                         ไปใช้ในสถานศึกษาเพราะข้อจ�ากัดในเรื่องการประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษา (School
                         administration) ข้อจ�ากัดในภาพรวมจึงเป็นเรื่องการเข้าถึง (Accessibility) กลุ่มเป้าหมาย

                         ผ่านผู้บริหารโรงเรียน ทั้งนี้ ควรกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่ามูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์
                         ให้การสนับสนุน LY มากกว่าที่จะลงพื้นที่ในการใช้เกมภายในสถานศึกษาเอง จากที่กล่าวมานี้

                         กลยุทธ์การใช้เกม Sim Democracy ของ LY มีวัตถุประสงค์หลักในการคัดสรรเยาวชนเข้ามา
                         อยู่ในเครือข่ายของพรรคเสรีนิยม มีแนวทางการใช้ 2 แบบขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

                         แบบแรก เกมถูกใช้เป็นเครื่องมือสันทนาการในการจัดกิจกรรมคัดสรรสมาชิกเข้าองค์กร
                         มิติความบันเทิงและสันทนาการจากการเล่นเกมจึงเด่นชัด ในขณะที่เรื่องเนื้อหาเกี่ยวกับ

                         ความเป็นพลเมืองจะเป็นการเน้นสื่อสารผ่านประสบการณ์ โดยชี้ให้เห็นว่าประชาชนสามารถ
                         ความเปลี่ยนแปลงโดยที่พรรคการเมืองสามารถเป็นกลไกสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงนั้น

                         แบบที่สอง เกมถูกใช้เป็นสื่อกลางในการอภิปรายเรื่องบทบาทของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
                         ในกิจกรรมพบปะกลุ่มเป้าหมายเชิงรุก ซึ่งการใช้แบบนี้จะมุ่งเป้าไปที่นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

                         ที่มีความพร้อมในการถกเถียงในระดับของหลักการหรือคุณค่า


                                 ส�าหรับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ กลยุทธ์การใช้เกมมีเป้าประสงค์หลัก
                         ในการสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน และสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมเปิดกว้างและคุณค่าของ

                         ความเป็นพลเมืองที่สามารถใช้เหตุผล มีอ�านาจในการตัดสินใจ และไม่ลังเลที่จะมีส่วนร่วม
                         ในการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเกม Sim Democracy จะถูกจัดวาง

                         ให้สอดคล้องกับกระบวนการฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกม ดังนั้น จึงเน้นทั้งเรื่องการถ่ายทอดเนื้อหา
                         และหลักการที่อยู่ในเกม และแนวทางหรือวิธีการใช้เกมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันไป เพราะฉะนั้น

                         การฝึกอบรมผู้น�าเกมยังมีความส�าคัญ เเต่การน�าเกมไปใช้จริงไม่จ�าเป็นต้องยึดตามต�ารา
                         แต่ควรน�าไปใช้ตามภารกิจและเป้าประสงค์ของกิจกรรมและองค์กร การน�าไปใช้จริงจึงเป็นเรื่อง

                         ของการโยงเนื้อหา และหลักการว่าด้วยความเป็นพลเมืองที่ปรากฏในเกมเข้ากับบริบทการน�า
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120