Page 112 - kpiebook67039
P. 112
111
5.7 มิติสังคม
5.7.1 ผู้ก�าหนดนโยบายระดับสูง (Policy elite) ในภาครัฐ
และการสนับสนุนโดยภาครัฐ
ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ไม่พบกรณีการสนับสนุนการใช้เกม Sim Democracy
จากผู้ก�าหนดนโยบายระดับสูงในภาครัฐ แตกต่างจากกรณีของประเทศไทยที่ผู้บริหารของส�านักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งให้การสนับสนุนเกม Sim Democracy อย่างไรก็ตาม ในแง่มาตรการ
เชิงนโยบายที่ภาครัฐสนับสนุนการใช้เกมโดยรวม ในขณะนี้ภาครัฐของประเทศฟิลิปปินส์
ให้ความสนใจในเรื่อง ESports (เจ้าหน้าที่ LY, สัมภาษณ์, 2 ธันวาคม 2565) จุดนี้แตกต่าง
กับประเทศไทยที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจและร่วมผลิตเกม ทั้งเกมกระดาน และการ์ด
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เกม Rights
Card Game ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นภาคีเครือข่ายในการร่วมพัฒนา
และน�าไปใช้ อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้แก่ เกม The Choice ทางเลือก ทางรอด ที่ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้
และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมร่วมพัฒนาออกแบบ
และน�าไปใช้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องหนี้นอกระบบ และการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสม
5.7.2 ปทัสถานทางสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย
องค์ความรู้ (Social norms affecting knowledge diffusion)
การแพร่กระจายองค์ความรู้ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย
ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าการถกเถียงประเด็นทั้งในเรื่อง
หลักการประชาธิปไตย ประเด็นเชิงนโยบาย และการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของเกม Sim Democracy เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ (เจ้าหน้าที่ LY 1, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565)
ผู้เล่นสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ สะท้อนวัฒนธรรมในการอภิปรายเปิดกว้าง และ
เอื้อต่อการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์ฉายภาพให้เห็นเพิ่มเติม
ว่าในระดับการเมือง รัฐบาลมีการใช้เครื่องมือทางกฎหมายและนโยบายในการท�าลายแรงจูงใจ
(Disincentivise) ในการวิจารณ์หรือคัดค้านรัฐบาล (เจ้าหน้าที่ LY 2, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565)
แต่สิ่งนี้ไม่ได้กระทบต่อการอภิปรายหรือการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยทั่วไปในสังคม