Page 107 - kpiebook67039
P. 107
106 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การบริหารจัดการทรัพยากรภายในโครงการ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า LY ไม่ได้มีแผนการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยเฉพาะ
ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรจึงเกิดขึ้นเป็นครั้ง ๆ ไป การคิดในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร
จึงมักจะอยู่ที่การเตรียมผู้น�าการเล่นเกม และเกมให้เพียงพอกับจ�านวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
5.5.5 มิติเครือข่ายระหว่างองค์กร
บทบาทขององค์กรภายในเครือข่าย
LY เป็นปีกเยาวชนของพรรคเสรีนิยม และมีภารกิจในการสร้างเครือข่ายเยาวชนของพรรค
ในภาพรวม LY จึงท�าหน้าที่ผู้จัดการเครือข่ายและเกม Sim Democracy ก็ถูกส่งผ่านเครือข่ายนี้
ไปสู่ผู้น�าเยาวชนทั้งในเขตเมืองและในท้องถิ่นต่าง ๆ นอกจากนี้ LY มีการติดต่อกับกรรมการนักเรียน
ด้วย แม้ว่าจะไม่ได้น�าเกมไปใช้ในโรงเรียนโดยตรง (เจ้าหน้าที่ LY 2, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565;
เจ้าหน้าที่ LY 3, สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2565) อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้ว LY ไม่ได้มีแผน
เรื่องการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยเฉพาะ การส่งผ่านที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล นอกจากนี้ LY ไม่ได้มีภาคีเครือข่ายระหว่างองค์กรที่เป็นทางการในการร่วมกัน
น�าเกมไปใช้ ซึ่งแตกต่างจากการกรณีของประเทศไทยซึ่งภาคีเครือข่ายระหว่างองค์กรที่เป็น
ทางการในการร่วมกันน�าเกมไปใช้มีความเข้มแข็ง ประเด็นนี้จะได้รับการอภิปรายในรายละเอียดใน
บทวิเคราะห์ประเทศไทย
การเคลื่อนที่ขององค์ความรู้ภายในเครือข่าย
LY ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์มีส่วนในการช่วย
ขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับ Sim Democracy ตลอดจนหลักการที่เกมมุ่งสื่อสารในเรื่องทักษะ
ความเป็นพลเมืองไปสู่เยาวชนในเครือข่าย
ความสามารถในการประสานงานภายในเครือข่าย
LY ประสานงานกับเครือข่ายเยาวชนผ่านผู้น�าเยาวชนที่ถูกสรรหาเข้ามาเป็นสมาชิก
ของพรรค และประสานงานกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศฟิลิปปินส์ และส�านักงานประเทศไทย
ในการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้