Page 105 - kpiebook67039
P. 105

104     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 ข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์ในส่วนนี้ คือ ประการแรก ในการน�าเกมไปใช้ เนื้อหา

                         ของเกมจะถูกหลอมรวมเข้ากับบริบททางสังคม-การเมืองเฉพาะของแต่ละประเทศ (Localize)
                         ประการที่สอง เนื่องจากเนื้อหาของเกมถูกออกแบบมาจากหลักการประชาธิปไตย ซึ่งเป็นนามธรรม

                         และถูกดึงออกจากบริบทเฉพาะ การสื่อสารองค์ความรู้ภายในเกมจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขับเน้น
                         ความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับอุดมคติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากสิ่งที่

                         LY พยายามจะท�าคือการสื่อสารให้เห็นประโยชน์ของคุณค่าเสรีนิยมประชาธิปไตย จุดนี้ท�าให้
                         ผู้น�าเล่นเกมต้องแสวงหาหนทางในเรื่องการสื่อสารองค์ความรู้ในต�าราในขณะเดียวกันก็ต้องตระหนัก

                         ในประสบการณ์จริงที่ผู้เล่นเผชิญ การน�าเกมไปใช้จะถูกดึงไปในด้านใดมากกว่ากันขึ้นอยู่กับ
                         ความสามารถของผู้น�าการเล่นเกมในการคุมหางเสือและทิศทางในการอภิปรายของผู้เล่นเกม

                         ประการที่สาม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าการใช้เกมในบริบทของการเมืองท้องถิ่นและ
                         การเลือกตั้งท้องถิ่นมีความแตกต่างกับการใช้ในบริบทระดับชาติ ความแตกต่างที่ว่านี้มีสองมิติ

                         มิติแรก คือในท้องถิ่นหรือพื้นที่ชนบท ผู้เล่นมีการตีความกติกาการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตย
                         ใหม่ โดยผู้เล่นได้เพิ่มมิติสายสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ และความยึดโยงกับครอบครัว เข้าไปใน

                         การเล่นเกม แตกต่างจากการน�าเกมไปใช้กับนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่ให้ความส�าคัญ
                         กับการเมืองระดับชาติ และพยายามท้าทายหรือตั้งค�าถามกับสิ่งเหล่านี้ มิติที่สอง เกี่ยวข้องกับ

                         ภาคส่วนที่ก�าหนดไว้ในเกม Sim Democracy ก�าหนดให้ประเทศหนึ่ง มีภาคส่วนที่ส�าคัญจ�านวน
                         สี่ภาคส่วน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การศึกษา และสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม

                         ภาคส่วนทั้งสี่นี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับทุกท้องถิ่นอย่างเสมอกัน และมีกรณีที่ภาคส่วนเหล่านี้ไม่ใช่
                         ประเด็นหลักที่การเมืองท้องถิ่นให้ความสนใจ ดังนั้น การน�าเกมไปใช้จึงต้องปรับเปลี่ยนภาคส่วน

                         เหล่านี้ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เล่นในแต่ละพื้นที่ หากขยายความเพิ่มเติม เนื่องจาก
                         ประเทศฟิลิปปินส์ประกอบไปด้วยเกาะจ�านวนมาก และแต่ละพื้นที่มีความต้องการเฉพาะ

                         จึงไม่แปลกที่ประเด็นในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน และมีความหลากหลาย น�ามาสู่การคิด
                         ในเรื่องกลยุทธ์การน�าเกมไปใช้ที่ต้องถูกออกแบบให้เฉพาะเจาะจงกับลักษณะและความต้องการ

                         ของแต่ละพื้นที่ (Tailor-made)


                                 ประเด็นที่ควรอภิปรายเพิ่มเติมในส่วนนี้ คือเรื่องผลการน�าเกมไปใช้ ซึ่งในที่นี้จะอภิปราย
                         ในบริบทของผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งได้น�าเกม Sim Democracy

                         ไปใช้ในกิจกรรมของ LY ในท้องถิ่น มีกลุ่มเป้าหมาย คือเยาวชนในพื้นที่อายุระหว่าง 16-19 ปี
                         กิจกรรมมีวัตถุประสงค์หลักในการสรรหาเยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค ผลการน�าเกมไปใช้

                         มิได้มีเพียงแค่เรื่องความสนุกสนาน แต่ยังช่วยให้ผู้เล่นได้คิดวิเคราะห์ในเรื่องบทบาทของฝ่ายบริหาร
                         ในการปกครองประเทศ และเรื่องการจัดสรรงบประมาณของรัฐ (ตัวแทนเยาวชน 1, สัมภาษณ์,

                         1 ธันวาคม 2565)
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110